TY - JOUR AU - พันมานิมิตร, รัตน์ปราณี AU - จีระออน, กาญจนา AU - ทองสีนวล, อารยาวดี AU - จิตรภิรมย์, กิจจา PY - 2020/03/02 Y2 - 2024/03/29 TI - การสำรวจเส้นทางหนีไฟ และคำนวณระยะเวลาในการอพยพหนีไฟของอาคาร 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 13 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/225694 SP - 90-98 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจเส้นทางหนีไฟ และคำนวณระยะเวลาอพยพโดยอาศัย การเคลื่อนที่แบบไฮดรอลิค ณ อาคาร 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความสูง 10 ชั้น โดยมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ใช้สอย 8,497 ตารางเมตร ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) และ NFPA 101</p><p>ผลการศึกษาพบว่าเส้นทางหนีไฟยังไม่สอดคล้องตามกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยเฉพาะในประเด็น บันไดหนีไฟ และเส้นทางหนีไฟ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบป้องกันเพลิงไหม้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลการคำนวณระยะเวลาอพยพโดยใช้บันได 1 และบันได 2 พบว่ามีระยะเวลาเป็น 19.9 และ 23 นาที ตามลำดับ ดังนั้นระยะเวลาในการอพยพของอาคาร 9 จากชั้น 10 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดมายังชั้น 1 และเป็นจุดปล่อยออกจากอาคารใช้ระยะเวลาระหว่าง 19.31-23.58 นาที (95% CI) โดยมีอัตราการไหลสูงสุด (Fc) เป็น 0.898 คนต่อวินาที มีความเร็วในการอพยพลงบันได (S) เป็น 0.535 เมตรต่อวินาที มีระยะทางอพยพระหว่างชั้น (TD) เป็น 13.39 เมตร และมีระยะเวลาอพยพต่อชั้น (TT) 25 นาทีตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมวดที่ 2 ว่าด้วย ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันไฟไหม้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อการคำนวณระยะเวลาอพยพหนีไฟคือ จำนวนผู้ใช้อาคาร ขนาดความกว้างของส่วนประกอบบนเส้นทางหนีไฟ ได้แก่ ช่องทางผ่าน ประตูหนีไฟ และบันไดหนีไฟ รวมถึงขนาดลูกตั้งลูกนอนของบันไดหนีไฟ เป็นต้น</p><p>&nbsp;</p> ER -