TY - JOUR AU - ศรีสวัสดิ์, ศวิตา AU - โล่วิรกรณ์, สุวลี PY - 2019/11/01 Y2 - 2024/03/29 TI - การรับรู้และการบริโภคอาหารเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 12 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/187948 SP - 88-96 AB - <p>อาหารมื้อเช้า เป็นมื้ออาหารที่สำคัญแต่นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อนี้น้อยที่สุด การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การบริโภคอาหารมื้อเช้าและการบริโภคอาหารมื้อเช้าของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนทั้งหมด 160 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้การบริโภคอาหารมื้อเช้า รูปแบบการบริโภคอาหาร และแบบบันทึกอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับโดยโปรแกรม INMUCAL version 4.0</p><p>ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาใช้เงินค่าอาหารวันละ 150-250 บาท เป็นเงินค่าอาหารมื้อเช้า 25-50 บาท นักศึกษามีการบริโภคอาหารมื้อเช้าในวันเรียนปกติ ร้อยละ 62.5 และวันหยุด ร้อยละ 41.3 ซึ่งอาหารมื้อเช้าที่นักศึกษาบริโภค 5-6 วัน/สัปดาห์ เป็นอาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวผัดกะเพรา ข้าวหมูแดง และข้าวขาหมู เป็นต้น ร้อยละ 31.9 และข้าวราดแกง ร้อยละ 41.9 ซึ่งแหล่งอาหารมื้อเช้ามาจากร้านค้าในคณะ ซึ่งปริมาณพลังงานที่รับจากอาหารมื้อเช้าโดยเฉลี่ย 415±148.78 กิโลแคลอรี่/วัน และการศึกษาการรับรู้การบริโภคอาหารมื้อเช้า พบว่า การรับรู้ความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้าของนักศึกษาอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย 4.34±0.42 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการไม่บริโภคอาหารมื้อเช้า และการรับรู้อุปสรรคของการบริโภคอาหารมื้อเช้าอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.62±0.41 และ 3.28±0.78 ตามลำดับ</p><p>ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงควรส่งเสริมการรับรู้และการบริโภคอาหารมื้อเช้าในกลุ่มนักศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้และสุขภาพของนักศึกษา</p> ER -