TY - JOUR AU - กิจบำรุงรัตน์, เกรียง PY - 2019/11/25 Y2 - 2024/03/29 TI - การประเมินผลความสูญเสียของลูกจ้างที่พิการนิ้วมือ มือหรือแขนต่อค่าทดแทนของการประกอบอาชีพ JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 13 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/164614 SP - 79-87 AB - <p>การวิจัยการประเมินผลความสูญเสียของลูกจ้างที่พิการนิ้วมือ มือหรือแขน ต่อค่าทดแทนของการประกอบอาชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ สถานะสุขภาพทางกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมของลูกจ้างที่พิการนิ้วมือ มือหรือแขน จากการประกอบอาชีพภายหลังจากได้รับการจ่ายค่าทดแทน 2) เพื่อหาตัวแบบและตัวแปรที่มีผลต่อการได้รับการจ่ายค่าทดแทนตามประเภทการสูญเสียอวัยวะของลูกจ้าง รายได้ของอัตราค่าจ้างลูกจ้างก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุ รายได้ของอัตราค่าจ้างลูกจ้างหลังจากที่ได้รับการฟื้นฟู และรายได้ของความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างของคนปกติและคนสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งได้ 6 กลุ่มได้แก่กลุ่มลูกจ้างที่ประสบอันตรายจนสูญเสียอวัยวะ 1) นิ้วมือ 2) ง่ามนิ้วมือ 3) มือ 4) ข้อมือ 5) แขนเหนือศอกและ 6) แขนใต้ศอก ในจังหวัดระยอง ปทุมธานี สมุทรปราการสมุทรสาครและกรุงเทพฯจำนวน 300 คน วิธีการศึกษาเป็นการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมของลูกจ้างที่พิการต่อค่าทดแทนการสูญเสียจากการประกอบอาชีพ ด้วยการใช้ตัวแบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Model) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกจ้างส่วนใหญ่มีสถานะสุขภาพทางกาย จิต ปัญญาและสังคมค่อนข้างปกติ ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ยกเว้นแต่ในช่วงเวลาหลังจากประสบอันตรายในตอนแรกจำเป็นต้องมีผู้ดูแลเพราะยังไม่คุ้นเคยต่อการช่วยเหลือตัวเองซึ่งยังต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวลูกจ้างมีความเห็นว่าตนเองมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมแย่ลงกว่าเดิม เพราะมีข้อจำกัดในการทำงานที่ใช้นิ้วมือหรือมือไม่ถนัดเหมือนเดิม ทำให้สูญเสียโอกาสในการทำงานที่จะหารายได้ให้มากขึ้นหรือได้รับความก้าวหน้าในการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจและยังมีความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยและอาย2) ตัวแบบและตัวแปรที่มีผลต่อการได้รับการจ่ายค่าทดแทนได้แก่2.1) ตัวแบบการได้รับการจ่ายค่าทดแทนตามประเภทการสูญเสียอวัยวะของลูกจ้าง มีความสัมพันธ์กับอวัยวะที่ได้รับการสูญเสียของลูกจ้าง และอายุ 2.2) ตัวแบบรายได้ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างก่อนประสบอุบัติเหตุมีความสัมพันธ์กับ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และอายุ&nbsp; 2.3) ตัวแบบรายได้ของอัตราค่าจ้างของลูกจ้างหลังจากที่รับการฟื้นฟูมีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน อายุและอาชีพก่อนประสบอุบัติเหตุ 2.4) ตัวแบบรายได้ของความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างปกติและลูกจ้างที่สูญเสียสมรรถภาพของร่างกายมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา และอาชีพก่อนประสบอุบัติเหตุ</p> ER -