TY - JOUR AU - ห้วยจันทร์, เสาวภา AU - ชายเกลี้ยง, สุนิสา PY - 2019/02/05 Y2 - 2024/03/29 TI - การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในคนงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็ก JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 12 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/145335 SP - 85-90 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการทำงานที่จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำงานในอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กจากกลุ่มตัวอย่าง 97 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล และภาวะด้านสุขภาพ&nbsp; ลักษณะงาน&nbsp; และการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้เครื่องมือประเมินรยางค์ส่วนบนคือ รูล่าร์ (RULA) และรยางค์ส่วนล่างคือ รีบาร์ (REBA) ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของท่าทางการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.9) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 34.61 ปี มีประสบการณ์ทำงานช่วง 5-10 ปี (ร้อยละ 45.3) และพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานในระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 73.2 และจากการประเมินความเสี่ยงของท่าทางการทำงานของพนักงานในแต่ละลักษณะงาน ผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน RULA พบว่าพนักงานในกลุ่มงานออฟฟิศ มีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ขึ้นไปคือความเสี่ยงสูงที่ควรตรวจสอบและแก้ไขโดยเร็วคิดเป็นร้อยละ 22.22 และจากการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน REBA พบว่ากลุ่มงานที่มีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 4 คืองานนั้นเป็นปัญหาควรรีบทำการปรับปรุงหรือแก้ไขโดยทันที เป็นส่วนใหญ่คือกลุ่มงานคุมเครื่องพับแผ่นเหล็ก กลุ่มงานคุมเครื่องคัดโค้ง และกลุ่มงานคุมเครื่องรีดขึ้นรูปลอน โดยคิดเป็นร้อยละ 87.50 ร้อยละ 83.33 และร้อยละ 70.00 ตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าพนักงานที่ทำงานในฝ่ายผลิตของอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กนั้นมีส่วนงานที่พบว่าการยศาสตร์การทำงานต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วนในส่วนการผลิตแผ่นเหล็ก คัดโค้งและรีด อีกทั้งพนักงานบางส่วนของสำนักงานที่มีระดับเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ ดังนั้นควรมีการปรับปรุงทางวิศวกรรมด้านสถานีงานในงานผลิต และท่าทางการทำงานของพนักงาน การออกแบบช่วงเวลาพักให้เหมาะสม และการฝึกอบรมให้ความรู้ทางการยศาสตร์ และควรมีการเฝ้าระวังความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานโดยการใช้หลักการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในพนักงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กต่อไป</p> ER -