TY - JOUR AU - แก้วจันดา, จุรีภรณ์ AU - ชายเกลี้ยง, สุนิสา PY - 2019/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 12 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/145151 SP - 72-85 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) ในโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ เก็บข้อมูลในกลุ่มพนักงานในสายงานการผลิตเยื่อและกระดาษ จำนวน 157 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ตามความเหมาะสมของลักษณะงานด้วยการประเมินท่าทางของรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว (Rapid Upper Limb Assessment; RULA) การประเมินร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว (Rapid Entire Body Assessment; REBA) และการประเมินงานสำนักงาน (Rapid Office Strain Assessment; ROSA) พิจารณาร่วมกันในรูปแบบเมตริกโดยพิจารณาโอกาสและความรุนแรงร่วมกัน ซึ่งโอกาสได้มาจากความเสี่ยงการยศาสตร์ ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สารเคมี(กลิ่นรบกวน) ส่วนความรุนแรงได้มาจากการรับรู้ความรู้สึกไม่สบาย ความล้าสายตา สมรรถภาพทางกาย/ผลสุขภาพประจำปี และสถิติการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุผลการศึกษาพบว่าพนักงานในสายงานการผลิตเยื่อและกระดาษ มีการรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ 3 ตำแหน่งแรก ได้แก่ คอ ร้อยละ 66.24 หลังส่วนล่าง ร้อยละ 64.33 &nbsp;ไหล่ ร้อยละ 62.42 ผลการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ด้วย 3&nbsp;&nbsp; เทคนิค พบว่า RULA อยู่ในระดับ 2 และ 3 คือ ความเสี่ยงปานกลางและสูง ร้อยละ 30.43 REBA อยู่ในระดับ 4 เสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 56.36 ROSA อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.33 จากการวัดความล้าสายตาโดยใช้หลักการของ critical fusion frequency (CFF) พบว่ามีความล้าสายตา ร้อยละ 60.51 เมื่อนำข้อมูลแต่ละด้านมาพิจารณาร่วมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อพบว่า พนักงานอยู่ในระดับยอมรับได้ ร้อยละ 3.82 และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 47.13</p><p>จากการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า พนักงานในกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษเกือบทุกคนมีความเสี่ยงทางสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่อาจส่งผลโรคจากการทำงานของพนักงานได้ จึงควรมีมาตรการโปรแกรมการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานต่อไป</p> ER -