TY - JOUR AU - ภูชัย, พานทอง AU - พิลาวง, คำเส็ง PY - 2017/07/07 Y2 - 2024/03/29 TI - ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี เมืองสีสัตะนาก นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 7 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121799 SP - 58-65 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการและบ่งชี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ<br>โภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 2-5 ปีในโรงเรียนอนุบาลเมืองสีสัตะนาก นครหลวงเวียงจันทน์<br>สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 143 คน เก็บ<br>รวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง สัมภาษณ์ผู้ปกครองด้วยแบบ<br>สัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป ภาวะสุขภาพและสัมภาษณ์การบริโภคอาหาร 24 ชั่วโมงย้อนหลัง ประเมินภาวะ<br>โภชนาการของเด็กโดยใช้ดัชนีชี้วัดน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์<br>ส่วนสูง วิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่เด็กบริโภคด้วยโปรแกรม INMUCAL-Nutrients วิเคราะห์<br>ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ Chi-square หรือ Fisher’s exact<br>ผลการประเมินภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 143 คน พบว่า ร้อยละ 85.3 มี<br>น้ำหนักตามเกณฑ์อายุอยู่ในเกณฑ์ปกติ เด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยและค่อนข้างมากคิดเป็นร้อยละ 9.7 และ<br>5.0 ตามลำดับ เด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุปกติ คิดเป็น ร้อยละ 72.0 ค่อนข้างเตี้ยและค่อนข้างสูงคิดเป็น<br>ร้อยละ 25.8 และร้อยละ 2.1 ในด้านน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เด็กสมส่วนมีร้อยละ 89.5 ท้วมร้อยละ 6.3<br>และค่อนข้างผอมร้อยละ 4.2 ตามลำดับ เมื่อแยกตามกลุ่มอายุพบว่า เด็กกลุ่มอายุ 2-3 ปีได้รับปริมาณ<br>พลังงานและโปรตีนต่อวันเฉลี่ยร้อยละ 114.2 และร้อยละ 228.5 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน (DRI) และ<br>เด็กกลุ่มอายุ 4-5 ปี ได้รับปริมาณพลังงานและโปรตีนเฉลี่ยร้อยละ 98.1 และ ร้อยละ 198.3 ของปริมาณที่<br>ควรได้รับต่อวัน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน พบว่า เมื่อ<br>ใช้น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ การเลี้ยงดูด้วยนมแม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมี<br>นัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.04) ในขณะที่เมื่อใช้ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ อายุเด็ก การเจ็บป่วยมาแต่กำเนิด<br>อาชีพผู้ปกครอง และรายได้ครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ<br>ทางสถิติ (p-value=0.01, 0.03, 0.02 และ 0.001, ตามลำดับ) และเมื่อใช้น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง อายุ<br>ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.03)<br>กล่าวโดยสรุป การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา การเจ็บป่วยมาแต่กำเนิด ฐานะเศรษฐกิจและอายุของ<br>มารดามีส่วนสำคัญต่อภาวะโภชนาของเด็กวัยก่อนเรียน ดังนั้น จึงควรพิจารณามาตรการที่เหมาะสมในการ<br>พัฒนาภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน</p> ER -