TY - JOUR AU - เทพเทียน, บังอร AU - ศรีวณิชชากร, สุพัตรา AU - ศุภลักษณ์ศึกษากร, พักตร์วิมล AU - ประคองสาย, ภูษิต PY - 2017/07/07 Y2 - 2024/03/28 TI - อุปสรรคต่อการเข้ารับบริการให้คำปรึกษาและการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่ม ประชากรหลักที่มีภาวะเปราะบางต่อการติดเชื้อเอชไอวีและประชากรทั่วไป JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 7 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121150 SP - 34-44 AB - <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับบริการให้คำปรึกษา<br>และการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีของกลุ่มประชากรหลักที่มีภาวะเปราะบางต่อการติดเชื้อเอชไอวีและ<br>ประชากรทั่วไปโดยการสำรวจภาคตัดขวาง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนพฤษภาคม–<br>กรกฎาคม 2556 พื้นที่ศึกษาใช้หน่วยการเลือกเป็นระดับจังหวัดแบบเจาะจงจากจังหวัดที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย<br>ของแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2555-2559 จำนวน 8 จังหวัด (แบ่งตามภูมิภาค)<br>จาก 31 จังหวัด วิธีการเลือกตัวอย่างในกลุ่มประชากรที่มีภาวะเปราะบางฯใช้วิธีการ time location<br>samplingและquota samplingได้จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 751 ราย ส่วนกลุ่มพนักงานในสถาน<br>ประกอบกิจการซึ่งเป็นตัวแทนประชากรทั่วไปใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ cluster samplingและ Sampling<br>with Probability Proportional to Size (PPS)ได้จำนวนตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 1,937 ราย<br>ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มที่เคยตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีมาก่อนมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อ<br>การตัดสินใจในการไปตรวจเลือดในปีหน้าคือประเมินตนเองไม่มีความเสี่ยง (FW: AOR=1.96 95%=1.03–3.75,<br>MSM : AOR=3.97 95%=1.58–10.32) ไม่มีคนชักชวนให้มาตรวจเลือด (AOR=2.39 95%=1.71–3.33)<br>การรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ในการตรวจเลือด (FW : AOR=2.73 95%=1.35–5.54) เสียค่าใช้จ่าย (FSW :<br>AOR=2.80 95%=1.75–8.34) การมีทัศนคติเชิงลบต่อการตรวจเลือด(MSM: AOR=5.51 95%=1.99-15.2)<br>สถานบริการไม่ให้เกียรติ (PWID: AOR=6.38 95%=1.01–40.29) ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ<br>เอชไอวีมาก่อนพบปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจในการไปตรวจเลือดในปีหน้าคือ ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง<br>(FW: AOR=1.62 95%=1.10–2.38) ไม่มีคนชักชวนให้มาตรวจเลือด (FW: AOR=2.39 95%=1.71–3.33, FSW:<br>AOR=3.66 95%=1.11–12.04) การไม่ได้รับข้อมูลการตรวจเลือดด้วยความสมัครใจ (FW: AOR=1.79<br>95%=1.39–2.30) การมีทัศนคติเชิงลบต่อการตรวจเลือด (FSW: AOR=7.02 95%=16.01-30.59, MSM:<br>AOR=2.66 95%=1.32–5.39) ดังนั้นการเพิ่มความครอบคลุมในกลุ่มประชากรหลักที่มีภาวะเปราะบางต่อ<br>การติดเชื้อเอชไอวีให้ได้ตามเป้าหมายควรหามาตรการให้คนกลุ่มนี้สามารถประเมินความเสี่ยงของตนเองได้<br>อย่างถูกต้อง หากลยุทธ์เชิงรุกเพื่อให้ข้อมูลการตรวจเลือดและสิทธิประโยชน์รวมทั้งชักชวนให้มาตรวจเลือด<br>สำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเป็นกลุ่มที่มีความครอบคลุมการตรวจเลือดน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆนั้น จาก<br>การศึกษานี้เห็นได้ชัดเจนว่าทัศนคติทางลบต่อการตรวจเลือดมีผลต่อการไปตรวจเลือด ดังนั้นจึงต้องเพิ่ม<br>มาตรการที่สามารถปรับทัศนคติให้เห็นประโยชน์ของการทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีและได้รับการรักษา<br>แต่เนิ่นๆ ส่วนประชากรทั่วไปสามารถครอบคลุมเป้าหมายได้ไม่ยากนัก อย่างไรก็ตามควรออกแบบ (redesign)<br>ของมาตรการการป้องกันให้เชื่อมโยงกับการรักษาเพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาอย่าง<br>ครอบคลุมและหามาตรการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น</p> ER -