TY - JOUR AU - จันทร์น้อย, มัทรี AU - ปานศิลา, วิรัติ AU - อุดมพร, ธีรยุทธ PY - 2017/07/07 Y2 - 2024/03/19 TI - ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการบริโภคน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยวของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 8 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121054 SP - 22-30 AB - <p>ปัจจุบันพบว่าเด็กมีการบริโภคน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยวในปริมาณที่สูงขึ้น การลดพฤติกรรมการ<br>บริโภคอาหารว่างที่ไม่เหมาะสมจะส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ การวิจัยนี้<br>เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการบริโภค<br>น้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5<br>โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา เขตอำเภอเมือง 2 โรงเรียน<br>จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คนโดยใช้ความน่าจะเป็นและสุ่ม<br>ตัวอย่างแบบง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3<br>ท่าน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมประยุกต์แนวคิดการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม<br>โดยใช้เทคนิค 4R ในการจัดกิจกรรม ประกอบด้วยการใช้สัมพันธภาพของการเป็นสมาชิกกลุ่มกำหนด<br>เป้าหมายในกลุ่ม (Relationship &amp; Goal setting) การทบทวนข้อมูลโดยกลุ่มเพื่อน (Repeat) การบันทึก<br>พฤติกรรมบริโภคน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยว (Record) การช่วยกันเตือน (Remind) ใช้เวลาทดลอง<br>9 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ<br>Paired t-test และ Independent t-test<br>ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยว การ<br>รับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมลดการบริโภคน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยวดี<br>ขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05) ระยะติดตาม<br>ผล กลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.05) แต่การรับรู้ความสามารถตนเอง<br>ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมการบริโภคน้ำอัดลมและขนมขบเคี้ยวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br>(p-value&lt;0.05) จากผลของโปรแกรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็น<br>ปัญหาในนักเรียน และควรมีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน</p> ER -