TY - JOUR AU - สินสงวน, จินตนา PY - 2017/07/07 Y2 - 2024/03/29 TI - ความชุกและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศ สปป. ลาว JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 9 IS - 3-4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/120951 SP - 52-61 AB - <p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและอธิบาย<br>พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง<br>เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 6 และ 7 ในเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก<br>ประเทศ สปป.ลาว จำนวนนักเรียนทั้งหมด 3,218 คน และขนาดตัวอย่างที่ได้ 289 คน<br>เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถาม<br>วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br>และสถิติวิเคราะห์ คือ chi-square test Odds’ ratio และช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% CI)<br>กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p-value&lt;0.05 ส่วนการสุ่มตัวอย่างนั้นได้แบ่งออกเป็น<br>สองขั้นตอน ใช้การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณเพื่อการประมาณ<br>สัดส่วนที่ทราบจำนวนประชากร และใช้การสุ่มตัวอย่างคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ<br>(Stratified Random sampling) ส่วนคุณภาพเครื่องมือใช้การตรวจสอบความตรงของ<br>เนื้อหา และหาค่าความเที่ยง<br>ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก<br>สปป.ลาว ร้อยละ 50.9 (95%CI=44.9, 56.8) ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในรอบหนึ่งปีที่<br>ผ่านมา โดยนักเรียนนอกเขตเทศบาลดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 63.4 และใน<br>เขตเทศบาลดื่ม ร้อยละ 42.6 โดยนักเรียนชายดื่ม ร้อยละ 54.2 ส่วนนักเรียนหญิงดื่ม<br>แอลกอฮอล์ ร้อยละ 48.5 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มครั้งแรกมากที่สุด คือ เบียร์ ร้อยละ<br>50.3 ในนักเรียนชายดื่มเบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแiก ร้อยละ 50.0 ในนักเรียน<br>หญิงดื่มเบียร์เป็นเครื่องดื่มครั้งแรก ร้อยละ 50.6 สาเหตุที่ดื่มครั้งแรก คือ เพื่อนชักชวน<br>(ร้อยละ 38.1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปัจจุบันที่นักเรียนดื่มมากที่สุด คือ เบียร์ (ร้อยละ<br>41.5) รองลงมาคือ ไวน์ (ร้อยละ 30.6) โดยนักเรียนดื่มกับเพื่อนมากที่สุด (ร้อยละ 90.5)<br>ส่วนโอกาสในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นักเรียนดื่มในงานเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อน<br>ร้อยละ 61.9 ดื่มในเทศกาลต่างๆ ร้อยละ 41.5 ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่ม<br>เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คือ พื้นที่นอกเขตเทศบาล (crude OR=2.36; 95% CI=1.46,<br>3.82) การสนับสนุนของบิดามารดา (crude OR=2.34; 95% CI=1.44, 3.8) และสัมพันธภาพ<br>ไม่ดีภายในครอบครัว (crude OR=2.09; 95% CI=1.24, 3.54 )<br>จากผลการศึกษาชี้ว่า กว่าครึ่งหนึ่งของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เมือง<br>ปากเซ แขวงจำปาสัก ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยนักเรียนชายมีสัดส่วนการดื่มไม่<br>ต่างจากนักเรียนหญิงมากนัก ส่วนนักเรียนนอกเขตเทศบาลนั้นดื่มมากกว่านักเรียนในเขต<br>เทศบาล ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คือการสนับสนุนของบิดา<br>มารดาให้ดื่มดังนั้น บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม<br>แอลกอฮอล์ของตนเองก่อนจึงจะกำกับควบคุมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของ<br>นักเรียนได้ ตลอดจนปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนด้วย</p> ER -