TY - JOUR AU - ชูเทียน, จงรัก AU - เลาห์ประเสริฐ, ประชุมพร AU - ธวัชสิน, อภิวัฏ PY - 2018/04/11 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิผลของขมิ้นชัน, ขิง, ข่า และกระชาย ในการกำจัดเหา JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 4 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118847 SP - 41-50 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของขมิ้นชัน ขิง ข่า และกระชาย ในการกำจัด<br>เหาตัวเต็มวัย ภายในเวลา 8 ชั่วโมง ด้วยวิธี Contact Method ทำการทดลอง 4 ซ้ำ (n=20) โดย<br>ใช้สารสกัดจากขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ขิง (Zingiber officinale Roscoe) ข่า (Alpinia<br>galanga (L.) Willd.) และกระชาย (Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.) ที่สกัดด้วย<br>เอทิลแอลกอฮอล์ 95% ในรูปแบบสารสกัดหยาบ และรูปแบบสารสกัดบริสุทธ์ิ โดยทดลองที่<br>ระดับความเข้มข้น 10, 15, 20, 25 และ 30% ผลการวิจัยพบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 30%<br>สารสกัดหยาบจากข่า ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดเหา โดยทำให้เหาตาย 100% (หลังการสัมผัส 8<br>ชั่วโมง) และมีค่ามัธยฐานของเวลาที่ทำให้เหาตาย (LT50) เท่ากับ 3.67 ชั่วโมง รองมาได้แก่ สาร<br>สกัดหยาบจากขมิ้นชัน ขิง และกระชาย โดยทำให้เหาตาย 95, 85 และ 80% (หลังการสัมผัส 8<br>ชั่วโมง) ตามลำดับ และมีค่า LT50 เท่ากับ 4.17, 4.68 และ 5.20 ชั่วโมง ตามลำดับ และที่<br>ความเข้มข้น 30% สารสกัดในรูปแบบสารบริสุทธ์ิจากข่า ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดเหา โดยทำให้<br>เหาตาย 100% (หลังการสัมผัส 8 ชั่วโมง) และมีค่า LT50 เท่ากับ 4.12 ชั่วโมง รองมาได้แก่<br>สารสกัดบริสุทธ์ิจากขมิ้นชัน ขิง และกระชาย โดยทำให้เหาตาย 90, 85 และ 80% (หลังการ<br>สัมผัส 8 ชั่วโมง) ตามลำดับ และมีค่า LT50 เท่ากับ 4.74, 5.05 และ 5.61 ชั่วโมง ตามลำดับ<br>ค่ามัธยฐานของความเข้มข้นที่เป็นพิษ (LC50) ของสารสกัดหยาบจากข่า ขมิ้นชัน ขิง และกระชาย<br>มีค่าเท่ากับ 8.52, 9.74, 15.26 และ 14.96 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ และค่า LC50 ของ<br>สารสกัดในรูปแบบ สารบริสุทธ์ิจากข่า ขมิ้นชัน ขิง และกระชาย มีค่าเท่ากับ 11.58, 15.50,<br>18.45 และ 18.37 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างวิธีการสกัด<br>พบว่า เหาตัวเต็มวัยที่สัมผัสสารสกัดจากพืชชนิดเดียวกัน แต่รูปแบบของสารสกัดต่างชนิดกัน คือ<br>รูปแบบสารสกัดหยาบ และสารบริสุทธ์ิ มีผลทำให้เหาตายแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ<br>และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างพืชทั้ง 4 ชนิด พบว่า เหาตัวเต็มวัยที่สัมผัสสารสกัดจากขมิ้นชัน<br>ขิง ข่า และกระชาย มีการตายแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน โดยสรุป<br>ประสิทธิผลของขมิ้นชัน, ขิง, ข่า และกระชายในการกำจัดเหาตัวเต็มวัยมีผลทำให้เหาตาย<br>ไม่แตกต่างกัน</p> ER -