TY - JOUR AU - ศรีเดช, จริญญา AU - อินทร์ม่วง, อุไรวรรณ PY - 2018/04/11 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ตำบลเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 3 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118822 SP - 65-74 AB - <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ประสบอุทกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2551 เก็บรวบรวม<br>ข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างหัวหน้าครัวเรือนที่ประสบอุทกภัย จำนวน 187 ครัวเรือน ในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม<br>พ.ศ. 2553 และเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการเกิดโรคที่เกี่ยวกับน้ำเป็นสื่อจากสำนักงานควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น วิเคราะห์ข้อมูล<br>โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวนและค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br>ผลการศึกษาพบว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงกันยายน ปีพ.ศ. 2551 มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิด<br>จากอุทกภัย ร้อยละ 25.1 ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการลื่นล้ม/หกล้ม และมีผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับน้ำเป็นสื่อถึงร้อยละ<br>64.2 โดยป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้ามากที่สุด รองลงมาคือ ผดผื่น/ผื่นคัน/ลมพิษ และตาแดง/ตาอักเสบ โดยทั้งหมดเป็นโรคที่เกิดจาก<br>การขาดแคลนน้ำสะอาดในการชำระล้างทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้า ทำให้เป็นโรคติดเชื้อตามเยื่อบุตาและผิวหนัง ประชาชน<br>ส่วนใหญ่มีความกังวลใจเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นกับที่พักอาศัยและทรัพย์สินในบ้าน ร้อยละ 27.3 ส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ<br>ถึงร้อยละ 72.7 และจากสถิติการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นสื่อ พบว่า ช่วงที่เกิดอุทกภัยเมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2551<br>เกิดการระบาดของโรคตาแดง ปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในขณะที่เกิดอุทกภัยพบว่า เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มและ<br>น้ำใช้ ไม่มีสถานที่หรืออุปกรณ์สำหรับประกอบอาหาร มีขยะลอยมาติดที่บ้าน ส้วมอุดใช้ไม่ได้และพบว่า ยุงเป็นแมลงนำโรคที่พบ<br>มากในช่วงหลังน้ำลด โดยขณะที่เกิดอุทกภัยพบว่า ประชาชนมีความสามัคคีและช่วยเหลือกันในชุมชนเพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่ต่างรู้สึก<br>ซาบซึ้งใจในการช่วยเหลือจากภาครัฐ<br>ข้อเสนอแนะจากการวิจัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีนโยบาย และแผนการดำเนินงาน<br>การแก้ไขปัญหาการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมขณะที่เกิดอุทกภัยและหลังจากการเกิดอุทกภัยย่างเป็นรูปธรรมและควรจัดให้มี<br>รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพอนามัยในขณะที่เกิดอุทกภัย ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคของประชาชน<br>ในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพขณะที่เกิดอุทกภัย</p> ER -