TY - JOUR AU - Chaleunvong, Kongmany AU - เขียวอยู่, จิราพร PY - 2018/04/11 Y2 - 2024/03/28 TI - การใช้การวิเคราะห์ถดถอยปัวส์ซองเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการสูบบุหรี่ ของบุคลากรสาธารณสุข ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 3 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118819 SP - 31-42 AB - <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการสูบบุหรี่ต่อวันของ<br>บุคลากรสาธารณสุข ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง Smoking<br>Behavior and Tobacco Control among Medical Doctor in Lao PDR ของ Phengsavanh et al. (2008) จำนวนตัวอย่างทั้งหมด<br>855 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การถดถอยปัวส์ซอง (ตัวแปรตามมีลักษณะข้อมูลแบบจำนวนนับ) โดยในกรณีที่พบว่า<br>ตัวแปรตามมีค่าความแปรปรวนมากกว่าค่าเฉลี่ย จะใช้การวิเคราะห์ถดถอยทวินามแบบลบ ส่วนกรณีที่ตัวแปรตามมีค่า<br>ความแปรปรวนมากกว่าค่าเฉลี่ยและมีค่าเป็นศูนย์จำนวนมาก จะใช้การวิเคราะห์ถดถอยปัวส์ซองที่มีศูนย์มากและมีผลการศึกษา<br>ดังนี้<br>เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่สูบบุหรี่ในปัจจุบัน (79 ราย) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยทวินามแบบลบ พบว่า บุคลากรกลุ่มนี้<br>จะมีปริมาณการสูบบุหรี่มากขึ้น ในกรณีที่เป็นคนแต่งงานแล้ว (IRR=1.77; 95%CI: 1.09-2.86) ในชีวิตเคยสูบบุหรี่ถึง 100 มวน<br>(IRR=2.07; 95%CI: 1.34-3.19) ผู้ที่จ่ายเงินซื้อบุหรี่ต่อสัปดาห์มากกว่า 10,000 กีบ (IRR=1.73; 95%CI: 1.42-2.09) และผู้ที่เคย<br>ได้รับคำแนะนำให้เลิกบุหรี่ (IRR=1.24; 95%CI: 1.00-1.51) ในขณะที่บุคลากรที่มีทัศนคติทางบวกกับการสูบบุหรี่จะมีปริมาณ<br>การสูบบุหรี่ลดลง (IRR=0.60; 95%CI: 0.41-0.86)<br>เมื่อพิจารณาในตัวอย่างทั้งหมด 855 คน ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยปัวส์ซองที่มีศูนย์มาก พบว่า ปริมาณการสูบบุหรี่ของ<br>บุคลากรที่มีปริมาณการสูบบุหรี่ต่อวันมากกว่า 0 มวนจะเพิ่มขึ้น กรณีเป็นคนอายุมากกว่า 40 ปี (IRR=1.25; 95%CI: 1.06-1.48)<br>แต่งงานแล้ว (IRR=2.51; 95%CI: 1.59-3.94) เป็นชนเผ่าลาว (IRR=1.47; 95%CI: 1.06-2.01) และมีทัศนคติทางลบกับ<br>การสูบบุหรี่ (IRR=1.78; 95%CI: 1.28-2.50)<br>ดังนั้นจากผลการศึกษาบ่งชี้ได้ว่า แนวทางเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ให้ถูกต้องยังเป็นสิ่งที่จำเป็น<br>สำหรับบุคลากรกลุ่มนี้</p> ER -