TY - JOUR AU - นันทะแสง, พรรณี AU - นาถะพินธุ, กาญจนา PY - 2018/04/03 Y2 - 2024/03/28 TI - ปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้ า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู JF - วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น JA - KKU J for Pub Health Res VL - 5 IS - 3 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118241 SP - 21 - 30 AB - <p>การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของ<br>ช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้ า ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 159 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์<br>วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นแรงงานนอกระบบ ในชุมชน<br>มีอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 54.1 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 82.4 การศึกษาประถมศึกษาร้อยละ 74.2<br>และไม่เคยได้รับการศึกษาหรือฝึกอบรมทางด้านเชื่อมโลหะร้อยละ 86.8 พบว่าทำงานทุกวัน ร้อยละ<br>35.9 และทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 81.8 สูบบุหรี่ ร้อยละ 62.3 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่ม<br>อาการทางกล้ามเนื้อมากสุดคือ อาการปวดกล้ามเนื้อแขน ร้อยละ 83.0 มีอาการตลอดเวลา ร้อยละ<br>1.26 รองลงมาคือ อาการปวดกล้ามเนื้อขา ร้อยละ 82.4 ปวดหัวไหล่ ร้อยละ 79.9 และปวดตามหลัง<br>ร้อยละ 77.4 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับการสัมผัสสารเคมีและแหล่งความร้อน มี<br>อาการระคายเคืองผิวหนัง ตา จมูก มากที่สุด ร้อยละ 50.1 รองลงมา ร้อยละ 38.1 มีอาการผื่นคันและ<br>วิงเวียนศีรษะ ร้อยละ 31.4 ตามลำดับ การทำงานกลางแจ้ง มีอาการอ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก มาก<br>ที่สุด ร้อยละ 78.6 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการทางตา มีอาการเคืองตาน้ำตาไหลร้อยละ 67.3<br>รองลงมาคือ มีอาการปวดเมื่อยตา ตาพร่ามัว ร้อยละ 67.1 และได้รับบาดเจ็บทางตาจากการทำงาน ร้อย<br>ละ 68.6 มีอาการแพ้แสง ลืมตาไม่ขึ้น รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา ตาแดง มากเป็นอันดับแรกร้อยละ<br>84.0 ปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ พบว่า มีอาการระคายเคืองจมูกและลำคอ<br>ร้อยละ 59.1 รองลงมาคือ หายใจขัด หอบเหนื่อยง่าย ร้อยละ 42.8 และปัญหาการเจ็บป่ วยในกลุ่มอาการ<br>ที่เกี่ยวกับการได้ยิน มีอาการรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด มากที่สุด ร้อยละ 60.7 รองลงมาคือ รู้สึกหูอื้อ ร้อยละ<br>60.0 ปัญหาโรคประจำตัว ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์พบว่าโรคที่เป็นมากที่สุดคือ กล้ามเนื้ออักเสบ<br>ร้อยละ 27.7 รองลงมาคือ โรคภูมิแพ้/หอบหืด และโรคปวดตึงกล้ามเนื้อ/มีพังพืด ร้อยละ 13.2 และร้อย<br>ละ 11.9 สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่มีถังดับเพลิงไว้ในบริเวณที่ปฏิบัติงาน ร้อยละ 94.3 การเชื่อมบนที่<br>สูง ไม่มีผ้ากันไฟหรือถาดรองไฟป้ องกันสะเก็ดไฟร่วงหล่น ร้อยละ 95.8 และที่พักรับประทานอาหารไม่มี<br>การแยกเป็นสัดส่วนจากที่ปฏิบัติงาน ร้อยละ 52.2 อุปกรณ์ป้ องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงานไม่มี<br>ปลั๊กอุดหู ครอบหู และหน้ากากกรองควันเชื่อม ร้อยละ 100 ผลการศึกษานี้บอกถึงปัญหาสุขภาพและ<br>สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นแรงงานนอกระบบในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเฝ้ าระวัง<br>ปัญหาสุขภาพ การควบคุมและป้องกันปัญหาสุขภาพ รวมถึงการป้องกันการบาดเจ็บจากการประกอบ<br>อาชีพ ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการปฏิบัติงานของช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้ า<br>ร่วมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาสุขภาพกลุ่มช่างเชื่อมโลหะและ<br>แรงงานนอกระบบกลุ่มอาชีพอื่นๆ ในชุมชนต่อไป</p> ER -