@article{เพ็ญศรี_เจริญธัญรักษ์_2021, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ เขตสุขภาพที่ 8}, volume={15}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/250849}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case–control study ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ เขตสุขภาพที่ 8 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสอบถามการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 กลุ่มที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 110 คน และกลุ่มที่ไม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 110 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression</p> <p>ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มฉีดและไม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่า กลุ่มฉีดวัคซีนมีระดับความรู้ปานกลางขึ้นไป เป็น 5.82 เท่าของกลุ่มที่ไม่ฉีด (OR<sub>adj</sub> = 5.82, 95% CI = 1.67-20.24), กลุ่มฉีดวัคซีนมีอัตราส่วนการไม่เชื่อว่า “การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วจะทำให้เป็นไข้หวัดตามมา” เป็น 2.55 เท่าของกลุ่มที่ไม่ฉีด (OR<sub>adj</sub>=2.55, 95% CI=1.23-5.13), กลุ่มฉีดวัคซีนมีอัตราส่วนการไม่เชื่อว่า “การออกกำลังกายทุกวัน ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่” เป็น 7.17 เท่าของกลุ่มที่ไม่ฉีด (OR<sub>adj</sub>=7.17, 95% CI=3.28-15.66), กลุ่มฉีดวัคซีนมีอัตราส่วนการรับรู้ข่าวสารทางหนังสือราชการ เป็น 2.68 เท่า ของกลุ่มที่ไม่ฉีดวัคซีน (OR<sub>adj</sub>=2.68, 95% CI=1.30-5.51)</p> <p>ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ และความเชื่อ มีความสัมพันธ์กับฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จึงควรมีการจัดทำแผนการให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขในช่องทางต่างๆ เช่น บรรจุเข้าในวาระประชุมของช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ และเกิดความเชื่อ ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้การฉีดวัคซีนมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ลดอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={เพ็ญศรี พรชนก and เจริญธัญรักษ์ เลิศชัย}, year={2021}, month={ก.ย.}, pages={14–23} }