@article{อุ่นทิ_หัตถโกศล_2021, title={ศักยภาพการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสของผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่ปลูกในประเทศไทย}, volume={14}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/248284}, abstractNote={<p>โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีผลต่อความจำ ความคิด พฤติกรรม และอารมณ์ โดยพบความชุกเพิ่มสูงขึ้นในวัยสูงอายุ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ประมาณ 50 ล้านคน การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมีสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่ปลูกได้ในประเทศไทยเป็นผลไม้ที่มีพลังงานต่ำ ใยอาหารสูง อีกทั้งอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของสารพฤษเคมีหลายชนิด เช่น ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ สารกลุ่มฟีนอลิก และอัลคาลอยด์  ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสในผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่ปลูกในประเทศไทย ทั้ง 10 ชนิด ผลการศึกษา พบว่า มะขามป้อม มะเม่า มะเกี๋ยง และมะยม สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ระดับสูงที่สุด โดยสารสกัดที่ความเข้มข้น <br>3 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ยับยั้งเอนไซม์ได้ร้อยละ 89 ถึง 91 และพบว่ามะขามป้อมมีปริมาณ<br>ฟีนอลิกรวม และค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP และ ORAC สูงที่สุด ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่ปลูกในประเทศไทย มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์</p>}, number={4}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={อุ่นทิ เนตรนภา and หัตถโกศล ฉัตรภา}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={24–32} }