@article{ศรีสุภักดิ์_งามเปรี่ยม_เหล่าไชย_ศรีสว่าวงศ์_2021, title={ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม}, volume={14}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/247497}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ จำนวน 262 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 93.82 (S.D.=10.54) การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า อยู่ในระดับเป็นประจำ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.57 (S.D.=0.23) และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ การโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ด้านการตัดสินใจด้านสุขภาพ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง และการบอกต่อข้อมูลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมีนโยบายและแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักและเฝ้าระวังการป้องกันโรคโควิด-19  รวมถึงผู้สูงอายุควรมีความรู้ความเข้าใจ และได้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นประจำ เพื่อการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ศรีสุภักดิ์ รัชชานันท์ and งามเปรี่ยม ปนัดดา and เหล่าไชย สุรัตนา and ศรีสว่าวงศ์ ประภากร}, year={2021}, month={เม.ย.}, pages={104–114} }