@article{สุขประดิษฐ์_เจริญธัญรักษ์_2020, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี}, volume={14}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/244237}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-Control Study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  กลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง 254 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์ ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 127 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ หญิงตั้งครรภ์ <br>ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง ในช่วง 14 เมษายน พ.ศ.2563-15 พฤษภาคม พ.ศ.2563 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multivariate Logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (OR<sub>adj</sub>) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95%</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์(OR<sub>adj</sub>=2.29, 95% CI: 1.08-4.85) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (OR<sub>adj</sub>=0.27, 95% CI: 0.09-0.85) การรับรู้ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (OR<sub>adj</sub>=2.67, 95% CI:1.48-4.83) การรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน (OR<sub>adj</sub>=4.53, 95% CI: 2.45-8.36)</p> <p>จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับวัคซีนนั้นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับ ควรมีบทบาทในการให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติที่ใกล้ชิด เพื่อเน้นให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคและวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงในการเกิดโรคอย่างถูกต้องเหมาะสม  เพื่อทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถตัดสินใจรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ครอบคลุมทุกคนต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={สุขประดิษฐ์ ดลนภา and เจริญธัญรักษ์ เลิศชัย}, year={2020}, month={ก.ย.}, pages={9–17} }