@article{อาจแก้ว_ชายเกลี้ยง_พฤกษ์ธาราธิกูล_2020, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น}, volume={14}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/243911}, abstractNote={<p>การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาทางสุขภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีการใช้เครื่องจักรในการผลิตมากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง   คือ พนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น จำนวน 153 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจวัดเสียงเพื่อประเมินการสัมผัสเสียงและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินโดยใช้สถิติวิเคราะห์แบบตัวแปรพหุถดถอยลอจิสติก นำเสนอค่า OR<sub>adj</sub> ที่ระดับช่วงเชื่อมั่น 95% และ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05  ผลการศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความผิดปกติของการได้ยินที่หูทั้งสองข้าง ร้อยละ 56.96 และหูข้างใดข้างหนึ่งร้อยละ 43.0 เป็นการได้ยินที่ช่วงความถี่สูงร้อยละ 70.88 และอายุของพนักงานที่สูญเสียการได้ยินสูงสุดคือ ช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี สูญเสียการได้ยินสูงสุดร้อยละ 34.18 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเคยทำงานสัมผัสเสียงดัง (OR<sub>adj</sub>=2.24; 95%CI=1.25-5.58) แผนกที่ทำงานในปัจจุบัน ได้แก่ แผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุง แผนกสร้างเครื่อง-แม่พิมพ์ แผนก Tank แผนก Pipe assy แผนกโรงล้างและแผนก Pump (OR<sub>adj</sub>=5.33; 95%CI= 2.47-11.45) ดังนั้น องค์กรจึงควรกำหนดนโยบายเพื่อการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการติดตามผลตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินประจำปีทั้งในกรณีการเข้างานใหม่และการย้ายแผนกไปทำงานในแผนกที่มีเสียงดัง เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงาน</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={อาจแก้ว กนกวรรณ and ชายเกลี้ยง สุนิสา and พฤกษ์ธาราธิกูล วิชัย}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={57–68} }