@article{ชายเกลี้ยง_บุญหล้า_ห้วยจันทร์_2020, title={การประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กเพื่อโปรแกรมการจัดการทางการยศาสตร์}, volume={14}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/242480}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal disorders: MSDs) ของพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำงานในอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กเพื่อเสนอแนะโปรแกรมการจัดการทางการยศาสตร์ในการลดความเสี่ยงต่อ MSDs ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การรับรู้อาการผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ สังเกตการทำงานและประเมินปัจจัยทางการยศาสตร์โดยแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ คือแบบประเมินร่างกายทั้งหมดอย่างรวดเร็ว (Rapid Entire Body Assessment : REBA) แบบประเมินท่าทางรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว (Rapid Upper Limb Assessment : RULA) ประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงาน โดยใช้เมตริกของความเสี่ยงทางสุขภาพ (5x4) ของการพิจารณาความรุนแรงของผลกระทบทางด้าน MSDs จากการรายงานด้วยตนเองของความรู้สึกไม่สบาย และโอกาสสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีความเสี่ยงต่อ MSDs ที่ระดับที่ 4 คือ มีความเสี่ยงสูงมากต้องปรับปรุงแก้ไขเร่งด่วน ร้อยละ 37.11 รองลงมาคือความเสี่ยงระดับ 2 คือ ความเสี่ยงปานกลางที่ต้องเฝ้าระวัง ร้อยละ 35.04 และความเสี่ยงระดับ 3 คือมีความเสี่ยงสูงที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ร้อยละ 17.52 งานที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน คือส่วนการพับแผ่นเหล็ก คัดโค้งและรีด ซึ่งต้องมีออกแรงกายจากการยกเคลื่อนย้าย ผลการประเมินเสนอแนะให้จัดการทางการยศาสตร์ด้วยโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อ MSDs ที่ดำเนินการโดยฝึกฝนท่าทางการยก การจัดทำคู่มือในการทำงานกับสถานีงานที่เหมาะสมกับลักษณะงานในแต่ละตำแหน่งหรือตามปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานให้มีความสะดวกในการทำงานโดยลดการเอี้ยวตัวหรือก้มตัวที่มากเกินไป ซึ่งจากการได้รับการจัดการทางการยศาสตร์นั้นพบว่า ทั้งคะแนนและระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังความผิดปกติของระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานโดยนำเมตริกประเมินความเสี่ยงต่อ MSDs ที่สามารถเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขจากผลระดับความเสี่ยง และการใช้วิธีการจัดการทางการยศาสตร์เบื้องต้นนี้เป็นแนวทางปฏิบัติในพนักงานอุตสาหกรรมชนิดการผลิตอื่นๆ ได้ต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ชายเกลี้ยง สุนิสา and บุญหล้า สุดารัตน์ and ห้วยจันทร์ เสาวภา}, year={2020}, month={พ.ย.}, pages={45–56} }