@article{โคตรหานาม_สารการ_ถนอมเสียง_2019, title={การตรวจสอบแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการเข้าร่วมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในประชากรไทย อายุ 45-74 ปี อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง}, volume={12}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/212378}, abstractNote={<p>การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจพบร่องรอยของโรคได้ในระยะแรกและนำไปสู่กระบวนการดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้อัตราการรอดชีพ 5 ปีสูงขึ้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงจึงเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนในการตรวจพบร่องรอยของโรคดังกล่าวในระยะแรก แต่พบว่ายังมีการเข้าร่วมการตรวจคัดกรองที่ต่ำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง</p> <p>การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ซึ่งสุ่มมาจากประชากรที่มีอายุ 45-74 ปีและมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 297 คน ทั้งที่เคยและไม่เคยเข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงของทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลน้ำพองและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำพองจัดขึ้น สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม ทำการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการโดยเจ้าพนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA 15 การวิเคราะห์เพื่อหาโมเดลสมการโครงสร้างและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์รายปัจจัยจากปัจจัยการรับรู้ภายใต้ตัวแบบความเชื่อด้านสุขภาพและปัจจัยทางสังคมภายใต้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม พบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ต่อการเข้าร่วมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของทุกปัจจัย ภายใต้ตัวแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและตัวแบบทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม พบว่า ไม่มีผลต่อการเข้าร่วมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง และเมื่อพิจารณา รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยตัวแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับตัวแบบทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคม ที่มีผลต่อการเข้าร่วมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (Chi-square<0.001, GFI=0.999, CFI=1.000, RMSEA=-, SRMR=0.172, TLI=-, AIC=17852.064, BIC=18295.683).</p> <p>สรุปได้ว่า แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีผลต่อการเข้าร่วมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง แต่ผลการศึกษา พบว่า มีผลการสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลางถึงน้อยที่สุด ดังนั้นหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงควรหาวิธีการหรือมาตรการในการเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคม ให้แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว ได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถเข้าถึงระบบการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีอยู่ในชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={โคตรหานาม วีรพล and สารการ พงษ์เดช and ถนอมเสียง นิคม}, year={2019}, month={พ.ย.}, pages={92–108} }