@article{ทองภูธรณ์_โล่วิรกรณ์_2020, title={พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี}, volume={13}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/205534}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่รับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อายุระหว่าง 30-60 ปี และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 mg/dL <br>3 ครั้ง จำนวน 163 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนา แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยสถิติการถดถอยลอจิสติก (Logistic regression)</p> <p>ผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลและสภาวะสุขภาพ ที่เป็นปัจจัยนำ พบว่า เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.5 อายุเฉลี่ย เท่ากับ 53.4 ปี (S.D.=7.2) ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เฉลี่ย เท่ากับ 8.4 ปี (S.D.=5.7) มีประวัติครอบครัวมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 73.6 โดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เป็นแม่ มีโรคแทรกซ้อน คือ โรคความดันโลหิตสูง ด้านภาวะโภชนาการ โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) พบว่าเพศหญิงมีภาวะอ้วน ระดับ 1 ร้อยละ 40 และเพศชายมีภาวะอ้วนระดับ 1 ร้อยละ 39.6 และ เมื่อใช้เส้นรอบเอว พบว่า เพศหญิง มีเส้นรอบเอวเกิน ร้อยละ 81.8 เพศชาย ร้อยละ 39.6  ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโรคเบาหวาน พบว่า มีความรู้ในระดับสูง ร้อยละ 75.5 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารโรคเบาหวาน พบว่า มีทัศนคติระดับดี ร้อยละ 73 พฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย พบว่า ออกกำลังกาย ร้อยละ 52.8 ด้านความเครียด พบว่า ไม่มีภาวะเครียด ด้านการดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ <br>ร้อยละ 74.2 ด้านการใช้ยา พบว่า ส่วนใหญ่รับประทานยาตรงตามแพทย์สั่ง ร้อยละ 95.7 ด้านปัจจัยเอื้อ การให้บริการสุขภาพ ได้แก่ การตรวจรักษา การให้คำปรึกษา พบว่า มีระดับความพึงพอใจในระดับสูง ร้อยละ 67.5 ด้านปัจจัยเสริม การสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขในโรงพยาบาลกุดจับ ผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า มีระดับความพึงพอใจในระดับสูง ร้อยละ 53.4 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า บริโภคอาหารครบ 3 มื้อ ปริมาณที่บริโภคมากที่สุด คือ มื้อเช้า และมื้อเย็น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ โดยเพศชาย มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 3.69 เท่า (OR<sub>Adj</sub>=3.69, 95% CI=1.15-13.59) การปฏิบัติตัวเมื่อทราบระดับน้ำตาลในเลือด โดยกลุ่มที่รับประทานอาหารตามปกติก่อนมาพบแพทย์ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงกว่ากลุ่มที่ควบคุมอาหารเพิ่มขึ้น 8.03 เท่า (OR<sub>Adj</sub>=8.03, 95% CI 2.10–30.71) การออกกำลังกาย โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย 6.1 เท่า (OR<sub>Adj</sub>=6.1, 95% CI=1.44–25.92)</p> <p> </p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ทองภูธรณ์ ภัสราภรณ์ and โล่วิรกรณ์ สุวลี}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={22–32} }