@article{chatsantiprapa_Kongngern_Thappasarasart_2020, title={Risk Assessment of Chlorination Disinfection Byproducts in Tap Water after Boiling and in Swimming Pool Water}, volume={13}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/198315}, abstractNote={<p>บทนำ งานวิจัยนี้มุ่งประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสารที่เกิดจากการฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยคลอรีน (Chlorination Disinfection by-products, DBPs) จาก 2 แหล่งน้ำ(น้ำประปาที่ผ่านการต้ม และน้ำจากสระว่ายน้ำ)โดยช่องทางรับสัมผัสแตกต่างกันเนื่องจากมีรายงานถึงอันตรายต่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องจากสาร DBPs วิธีวิจัย เก็บตัวอย่างน้ำประปาหลังต้มให้เดือดด้วยวิธีแตกต่างกันคือการต้มแบบเปิดฝาและการต้มแบบปิดฝาและเก็บตัวอย่างน้ำจากสระว่ายน้ำที่จุดเก็บตัวอย่างน้ำกลางสระและริมสระมาตรวจวิเคราะห์ โดย THMs (Trihalomethanes) ใช้ Purge and Trap, GC-ECD, ส่วน HAAs (Haloacetic acids) ใช้ LCMSMS แล้วทำการประเมินความเสี่ยง ผลการวิจัย งานวิจัยพบว่าการต้มโดยวิธีเปิดฝาจะลด THMs โดยการระเหยของสารได้ดีที่สุด การต้มแบบปิดฝาแล้วใช้วิธีการกดจ่ายน้ำออกจากหม้อต้มด้วยปั๊มลดสาร THMs ออกได้ดีรองลงมา และการต้มแบบปิดฝาแต่ไม่ได้ใช้วิธีการกดจ่ายน้ำออกจากหม้อต้มด้วยปั๊มจะลดสาร THMs ได้น้อยที่สุด การต้มน้ำซ้ำๆจะทำให้สารเคมีที่ระเหยได้และน้ำระเหยออกไปจนสารเคมีที่ระเหยได้น้อยมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นในน้ำ กรณีน้ำในสระว่ายน้ำงานวิจัยพบว่ามี THMs บริเวณขอบสระสูงกว่าบริเวณกลางสระ แต่กรณีสาร HAAs พบในน้ำประปาและน้ำสระว่ายน้ำในปริมาณที่ไม่มีนัยสำคัญ เมื่อประเมินอัตราเสี่ยงในการก่อมะเร็งตลอดชีวิต (Lifetime excess cancer rates) สำหรับกรณีความเสี่ยงด้านความเป็นพิษแบบไม่มีระดับกั้น (non-threshold toxicity) จากการใช้น้ำประปารวมจากหลายช่องทางรับสัมผัสพบว่าสูงเป็น 258-378 เท่าของอัตราเสี่ยงที่ยอมรับได้ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากช่องทางการกิน ส่วนอัตราเสี่ยงในการก่อมะเร็งตลอดชีวิตจากการรับสัมผัสน้ำในสระระหว่างว่ายน้ำสูงเป็น 1.24-1.93 เท่าของอัตราเสี่ยงที่ยอมรับได้ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากช่องทางการหายใจระหว่างว่ายน้ำ แต่กรณีความเสี่ยงด้านความเป็นพิษแบบมีระดับกั้น (threshold toxicity) ของน้ำจาก2แหล่งนี้อยู่ในระดับยอมรับได้ (acceptable range) สรุป ในการต้มน้ำควรปล่อยให้สารเคมีมีโอกาสระเหยออกไปได้เพื่อลดปริมาณ THMs ในน้ำ และควรหลีกเลี่ยงการต้มน้ำซ้ำๆเนื่องจากเป็นการทำให้สารเคมีซึ่งระเหยยากกว่าน้ำหรือสารเคมีไม่ระเหยมีความเข้มข้นมากขึ้น เมื่อว่ายน้ำควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำบริเวณขอบสระ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการก่อมะเร็ง การศึกษานี้ยืนยันว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในระดับยอมรับไม่ได้จากการฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยคลอรีนด้วยวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งน้ำประปาและน้ำในสระว่ายน้ำ</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={chatsantiprapa, kannikar and Kongngern, Pinyapat and Thappasarasart, Suthasinee}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={7–23} }