@article{บุญที_รัมย์ประโคน_กองทอง_มุสิกะพงศ์_2020, title={ปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในอากาศในโรงเลี้ยงสุกร: กรณีศึกษา โรงเลี้ยงสุกรในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี}, volume={13}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/171278}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในอากาศของโรงเลี้ยงสุกร จำนวน 5 แห่ง ในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลม ทั้งภายในและนอกโรงเลี้ยงสุกร รวมทั้งปริมาณความหนาแน่นของสุกรต่อพื้นที่ ทำการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศตามวิธีการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์มาตรฐาน  NIOSH Method 0800 ซึ่งใช้ Single Stage Impactor ที่อัตราการไหล 28.3 ลิตรต่อนาทีในการเก็บตัวอย่างเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศ และตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลมในพื้นที่ด้วยเครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ผลการศึกษาพบว่า โรงเลี้ยงสุกรแห่งที่ 4 มีปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราในอากาศภายในสูงที่สุด เท่ากับ 1,272.02 CFU/m<sup>3</sup> ซึ่งสูงกว่าค่าแนะนำของ American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH) :Air Sampling Instruments for Evaluation of Atmospheric Contaminants (1995) โดยไม่ควรเกิน 1,000 CFU/ m<sup>3</sup>  นอกจากนี้ พบว่าโรงเลี้ยงสุกรแห่งที่ 3 มีปริมาณความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียในอากาศสูงที่สุด เท่ากับ  3,494.22 CFU/m<sup>3</sup>  ซึ่งไม่เกินค่าแนะนำความเข้มข้นของแบคทีเรีย ในงานทางด้านเกษตรกรรมจาก IRSST (Occupational Health and Safety Research Institute Robert Sauvé)  คือ 10,000 CFU/m<sup>3</sup> ในอากาศ ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง เมื่อทำการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลมที่มีผลต่อการเกิดเชื้อราในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกรจำนวน 5 โรงเรือน โดยใช้สถิติ Spearman Correlation Coefficient พบว่า อุณหภูมิมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดเชื้อราในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกรที่ระดับนัยสำคัญ p-value = 0.037 ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลมไม่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณเชื้อราในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกร นอกจากนั้นในการศึกษานี้ยังพบว่า อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความหนาแน่นของสุกรต่อพื้นที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในโรงเลี้ยงสุกรที่ระดับนัยสำคัญ p-value > 0.05 อย่างไรก็ตามควรมีการเฝ้าระวังและการกำหนดให้มีมาตรการควบคุมปริมาณความเข้มข้นของเชื้อราและแบคทีเรียภายในโรงเลี้ยงสุกรให้ลดลง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={บุญที กานต์นลินญา and รัมย์ประโคน เทียมแข and กองทอง พรสุดา and มุสิกะพงศ์ พิรัชฎา}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={12–21} }