@article{ฮาดทักษ์วงค์_ชายเกลี้ยง_2019, title={การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ในกลุ่มพนักงานร้านอาหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย}, volume={12}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/160335}, abstractNote={<p>กิจกรรมการประกอบอาหารในห้องครัวที่มีการเผาไหม้สารอินทรีย์เพื่อให้ความร้อน เช่น แก๊สหุงต้ม เป็นต้น และการใช้น้ำมันในการประกอบปรุงอาหาร ก่อให้เกิดมลพิษในอาคารเกิดขึ้นโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM<sub>10</sub>) และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) การสัมผัสสารดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเข้มข้นของ PM<sub>10</sub> ในบรรยากาศการทำงานในห้องครัวและอาการแสดงอันเนื่องมาจากการสัมผัส PM<sub>10</sub> และสารประกอบ PAHs และเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัส PM<sub>10</sub> และสารประกอบ PAHs ของผู้ปฏิบัติงานในห้องครัว เก็บข้อมูลทั่วไป อาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยจากการรับสัมผัสฝุ่นควันจากการประกอบปรุงอาหารในห้องครัว และข้อมูลการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ผลการศึกษาระดับความเข้มข้น PM<sub>10</sub> พบว่า ห้องครัวทุกแห่งมีระดับความเข้มข้นของ PM<sub>10</sub> อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงแรงงานกำหนด ไม่เกิน 5 mg/m<sup>3</sup> การรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นจากการประกอบอาหารในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีอาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.46 รองลงมา คือ มีอาการเล็กน้อย ร้อยละ 27.87 อย่างไรก็ตามพบว่า มีการรายงานอาการระดับรุนแรงในตำแหน่งงานแม่ครัว ร้อยละ 1.64 จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับการมีอาการผิดปกติของพนักงาน พบว่า ปัจจัยการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ปฏิบัติงานและการไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของระดับอาการผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) และผลจากการประเมินความเสี่ยงผ่านเมตริกความเสี่ยงเชิงคุณภาพ พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความเสี่ยงต่อสุขภาพตั้งแต่ระดับค่อนข้างสูงขึ้นไปถึงระดับสูงมาก และเมื่อแบ่งระดับความเสี่ยงตามตำแหน่งงาน พบว่า ตำแหน่งแม่ครัวมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 77.77) รองลงมาคือระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 16.67) และระดับสูงมาก (ร้อยละ 5.56) ตำแหน่งผู้ช่วยแม่ครัวทุกคนมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 100) ตำแหน่งพนักงานเสิร์ฟ มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 88.46) รองลงมาคือระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 11.54) และตำแหน่งแคชเชียร์ (Cashier) มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.55) รองลงมาระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 45.45) ดังนั้น แม้ว่าระดับความเข้มข้นของ PM<sub>10</sub> จะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดแต่ผู้ปฏิบัติงานมีการรายงานอาการผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นจากการประกอบอาหาร เนื่องจากฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากกระบวนการประกอบอาหารนั้นมักปนเปื้อนด้วยสารประกอบ PAHs และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานในห้องครัว ผู้ปฏิบัติงานควรมีความตระหนักถึงอันตรายจากการรับ PM<sub>10</sub> และสารประกอบ PAHs โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลระหว่างปฏิบัติงานและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความเหมาะสม เช่น ติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่ เป็นต้น</p>}, number={4}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ฮาดทักษ์วงค์ พีรพงษ์ and ชายเกลี้ยง สุนิสา}, year={2019}, month={พ.ย.}, pages={60–69} }