@article{วงศ์พนารักษ์_คชโคตร_เรืองชัยทวีสุข_2019, title={คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม}, volume={12}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/155459}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในชีวิต 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในชีวิต การดูแลตนเองด้านร่างกาย การดูแลตนเองด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณกับคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มารับการตรวจสุขภาพที่คลินิกโรคเรื้อรังและยินดีเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 158 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) แบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.1 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกองค์ประกอบมีคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม  คิดเป็นร้อยละ75.7 70.1 66.0 52.1 ตามลำดับ ความพึงพอใจในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ 48.1 ความพึงพอใจในชีวิต การดูแลตนเองด้านร่างกาย การดูแลตนเองด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณกับคุณภาพชีวิต มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r<sub>s</sub>=.687, .405 และ .492 ตามลำดับ) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง</p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนช่วยเหลือและหาแนวทางส่งเสริมความพึงพอใจในชีวิต โดยมีกิจกรรมเน้นการดูแลตนเองด้านร่างกาย การดูแลตนเองด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p>}, number={4}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={วงศ์พนารักษ์ นริสา and คชโคตร จุฑามาศ and เรืองชัยทวีสุข กัญจน์ณิชา}, year={2019}, month={พ.ย.}, pages={1–10} }