@article{Kaewyot_Chaiklieng_2019, title={Ergonomic Risk Assessment Tools and Postures During Lifting Tasks: A Systematic Research Review}, volume={12}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/154705}, abstractNote={<p>ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ เช่น การใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Awkward posture) มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำงานและความเมื่อยล้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานยก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสรุปรายงานการศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับท่าทาง เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และการทำงานของกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ [Electromyography (EMG)] ในงานยก โดยทำการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ PubMed, Science Direct และ Health Science Journals หลังจากนั้นจึงนำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปเชิงเนื้อหา โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็น ดังนี้ 1. เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในงานยกของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม 2. ท่าทางในการยก 3. การประเมินท่าทางโดยใช้โกนิโอมิเตอร์ (Goniometer) และ 4. ภาระงานของกล้ามเนื้อในขณะทำงานยกโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) รายงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์ศึกษาจำนวน 20 เรื่องจากการค้นพบ 276 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมิน REBA และแบบประเมินความเสี่ยงงานยก NIOSH lifting equation ถูกใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ขณะทำงานยก ท่าทางการทำงานที่แตกต่างกันในขณะยกส่งผลต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้มียังพบการศึกษาในจำนวนที่น้อยเกี่ยวกับการประเมินท่าทาง และวิธีการศึกษาส่วนใหญ่ในการประเมินภาระงานของกล้ามเนื้อ คือ การใช้เครื่อง EMG ในการวิเคราะห์หาแรง (Force) และความล้า (Fatigue) ในขณะทำงานหรือหลังจากการปรับปรุงสถานีงาน การศึกษาในอนาคตควรเน้นในเรื่องการหาความสัมพันธ์ของการประเมินแบบรายงานด้วยตนเอง (Subjective assessment) หรือ การประเมินจากการสังเกต (Objective assessment) กับวิธีการวัดโดยตรง (Direct methods)  เพื่อยืนยันผลการศึกษาในสภาพการทำงานยกที่เกิดขึ้นจริง</p>}, number={4}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={Kaewyot, Parinyaporn and Chaiklieng, Sunisa}, year={2019}, month={พ.ย.}, pages={70–79} }