@article{ชายเกลี้ยง_2017, title={การปวดหลังจากการทำงาน: ภัยเงียบใกล้ตัวที่คุณควรรู้}, volume={2}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121835}, abstractNote={<p>อาการปวดหลังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสังคมปัจจุบัน ร้อยละ 75-80 ของประชากรโลกเคยมีประสบการณ์การ<br>ปวดหลังอย่างน้อยครั้งหนึ่งในช่วงชีวิต และเป็นกลุ่มอาการที่พบมากที่สุดของโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งมีรายงานว่า 1 ใน<br>5 ของวัยทำงานมีอาการปวดหลัง (McBeth and Jones, 2007) จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและ<br>สิ่งแวดล้อม พบว่าประชากรไทยได้รับผลกระทบอาการนี้เฉลี่ยปีละ 790 คน (สำนักงานกองทุนเงินทดแทน, 2552). สาเหตุสำคัญ<br>ของการปวดหลังในวัยทำงานส่วนใหญ่มาจากสภาพงานที่มีปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่<br>เหมาะสม นอกจากนั้นปัจจัยด้านส่วนบุคคล การมีท่าทาง อิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ภาวะสุขภาพและความเครียด ก็เป็นสาเหตุของ<br>การปวดหลัง ปัจจุบันมีการการวิจัย และพัฒนาเครื่องมือหลายรูปแบบเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการวินิจฉัยอาการปวดหลัง แต่<br>พบว่าค่าใช้จ่ายด้านการบำบัดรักษาอาการปวดหลังของวัยทำงานยังสูงมากขึ้นทุกปี เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการเรื้อรังที่กลับมา<br>เป็นได้อีกถ้าไม่มีการป้องกันตามแนวทางที่ถูกต้อง และด้วยเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันได้ในทุกเพศ วัยและทุกกลุ่มอาชีพ ดังนั้น<br>การเข้าใจถึงสาเหตุเบื้องต้นของการปวดหลัง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงานต่อไป</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ชายเกลี้ยง สุนิสา}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={47–54} }