@article{หงษ์ทอง_อินทร์ม่วง_2017, title={ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพเกษตรกรกลุ่มปลูกหอมแดง ตำบลบึงบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ}, volume={2}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121827}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Study)<br>มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความรู้ พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช<br>ตำบลบึงบอน อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน และตรวจวัด<br>ปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ด้วยชุดตรวจวัดอย่างง่าย ดำเนินการเก็บข้อมูลในฤดูเพาะปลูกหอมแดง ปี พ.ศ. 2552 ระหว่าง<br>เดือนธันวาคม 2551 – เดือนมีนาคม 2552 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 57.5 อายุระหว่าง 41 – 60 ปี ร้อยละ 64.9 จบการศึกษา<br>ระดับประถมศึกษา<br>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนปลูกหอมแดง มีการปลูกพริกและกระเทียมหลังจากเก็บเกี่ยวหอมแดงร้อยละ 80.5<br>และ 42.9 ตามลำดับ รายได้จากการเพาะปลูกต่อหนึ่งฤดูกาล ส่วนใหญ่ร้อยละ 21.95 มีรายได้ 40,000 – 50,000 บาท การรับทราบ<br>ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ร้อยละ 69.3 ได้รับข้อมูลจากร้านค้า ค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย<br>1,000 บาทต่อไร่และค่าจ้างฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ย 400 บาทต่อไร่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.9 มีการนำสารสกัดจากสะเดา<br>และจุลินทรีย์ อี เอ็ม (Effective Microorganisms) มาใช้แทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางส่วน เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับแนว<br>ทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยกเว้นการรับรู้ถึงแถบสีแสดงความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีเพียง<br>ร้อยละ 36.1 ที่มีการรับรู้ถูกต้อง การใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ผ้าขาวม้าแทนหมวกและ<br>หน้ากากปิดปาก สวมเสื้อแขนยาว ในฤดูเพาะปลูก ปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.2 และ 22 เคยมี<br>อาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยที่มีสาเหตุเนื่องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาการที่พบประกอบด้วยผื่นคัน คลื่นไส้ วิงเวียน แสบตา<br>ตาพร่ามัว แน่นหน้าอกและใจสั่น ผลการตรวจวัดปริมาณเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พบว่า ร้อยละ 24.4 มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอ<br>เรสอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 37.1 อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยร้อยละ 27.3 อยู่ในระดับมีความเสี่ยงและร้อยละ 11.2 อยู่ในระดับไม่<br>ปลอดภัย</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={หงษ์ทอง อิศราภรณ์ and อินทร์ม่วง อุไรวรรณ}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={63–70} }