@article{ตันติจรูญโรจน์_เลาห์ประเสริฐ_พรพิมลเทพ_2017, title={การกำจัดฟลูออไรด์ในน้ำ โดยใช้เปลือกไข่ ถ่านกัมมันต์และเถ้าแกลบดำ}, volume={2}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121825}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ โดยใช้เปลือกไข่ ถ่านกัมมันต์และเถ้าแกลบ<br>ดำ โดยกระบวนการดูดติดผิว ใช้การทดลองแบบต่อเนื่องด้วยถังดูดติดผิวแบบคอลัมน์ ซึ่งมีความสูงของชั้นวัสดุดูดติดผิวในถัง 60<br>เซนติเมตร และความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำสังเคราะห์เริ่มต้น 10 มก./ล. การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1<br>การเปรียบเทียบประสิทธิในการลดปริมาณฟลูออไรด์ของวัสดุดูดติดผิวต่างชนิด ขั้นตอนที่ 2 นำวัสดุดูดติดผิวมาเรียงตัวในรูปแบบที่<br>ต่างกัน ขั้นตอนที่ 3 นำวัสดุดูดติดผิวมาคลุกผสมกัน เก็บตัวอย่างน้ำที่ผ่านคอลัมน์ต่างๆ มาวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ที่เหลืออยู่<br>ในน้ำด้วยวิธี Electrode method ทำการทดลอง 3 ซ้ำ<br>ผลจากการทดลอง พบว่า วัสดุดูดติดผิวทุกชนิดมีประสิทธิภาพการลดปริมาณฟลูออไรด์มากกว่า 40 % โดยที่เปลือกไข่มี<br>ประสิทธิภาพในการลดปริมาณฟลูออไรด์สูงที่สุดคือ 61.8 % รองลงมาคือ ถ่านกัมมันต์ มีประสิทธิภาพ 53.4 % และเถ้าแกลบดำมี<br>ประสิทธิภาพ คือ 42.5% การเรียงตัวของวัสดุดูดติดผิวในรูปแบบที่ต่างกัน มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณฟลูออไรด์ที่แตกต่างกัน<br>อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.960) และการนำวัสดุดูดติดผิวมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน จะทำให้ประสิทธิภาพใน<br>การลดปริมาณฟลูออไรด์ได้ 62%</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ตันติจรูญโรจน์ อนันต์ and เลาห์ประเสริฐ ประชุมพร and พรพิมลเทพ เชาวยุทธ}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={55–62} }