@article{โพธิ์ศรีทอง_เลาห์ประเสริฐ_ฟองสถิตย์กุล_2017, title={การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลโคและเปลือกสับปะรดโดยกระบวนการย่อยสลาย ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน}, volume={2}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121822}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลโคและเปลือกสับปะรด โดยกระบวนการย่อยสลายภายใต้สภาวะไร้<br>ออกซิเจน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ อัตราส่วนของมูลโคกับเปลือกสับปะรด ต่อปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพ เปรียบเทียบ<br>ระยะเวลาเก็บกักต่อปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพ และวิเคราะห์ร้อยละของก๊าซมีเทนที่เกิดจากการหมัก การทดลองนี้ ทำการหมัก<br>ทั้งหมด 5 อัตราส่วนคือ มูลโค : เปลือกสับปะรด : น้ำกลั่น เท่ากับ 1:0:1, 2:1:3, 1:1:2, 1:2:3 และ 0:1:1 วัดปริมาณก๊าซชีวภาพที่<br>เกิดขึ้นโดยใช้หลักการแทนที่ของน้ำในการวัดปริมาตรน้ำที่ไหลออกมาจากถังปฏิกิริยา (3 ซ้ำ) และวิเคราะห์ร้อยละของก๊าซมีเทนด้วย<br>เครื่อง GC-MS<br>จากผลการทดลองพบว่า ปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพสูงสุดของอัตราส่วน 1:0:1 เท่ากับ 133.57±0 ลบ.ซม./วัน และ<br>อัตราส่วน 2:1:3, 1:1:2, 1:2:3, 0:1:1 เท่ากับ 125.71±0 ลบ.ซม./วัน, 117.86 ±0ลบ.ซม./วัน, 110±0 ลบ.ซม./วัน, และ 110±0 ลบ.<br>ซม./วัน (ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพของแต่ละอัตราส่วนด้วยสถิติ One-way ANOVA พบว่า แตกต่าง<br>กันอย่างไม่มีมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.119) นำอัตราส่วน ที่ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพมากที่สุดคืออัตราส่วน 1:0:1 มาวิเคราะห์<br>หาปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพที่ระยะเวลาเก็บกัก 10 วัน, 20 วัน, 30 วัน, 40 วัน และ 50 วัน ได้ปริมาณการเกิดก๊าซ เท่ากับ 0 ลบ.<br>ซม./วัน, 68.1±9.07 ลบ.ซม./วัน, 130.95±4.54 ลบ.ซม./วัน, 36.07±4.54 ลบ.ซม./วัน และ 0 ลบ.ซม./วัน ตามลำดับ เมื่อ<br>เปรียบเทียบปริมาณการเกิดก๊าซของแต่ละระยะเวลาเก็บกัก ด้วยสถิติ Kruskal-Wallis test พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง<br>สถิติ (p-value<0.05) โดยระยะเวลาเก็บกักที่ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพมากที่สุดจะอยู่ในช่วง 30 วัน ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักใน<br>อัตราส่วน 1:0:1 มีปริมาณก๊าซมีเทน 46.19 %v/v</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={โพธิ์ศรีทอง พงษ์ศักดิ์ and เลาห์ประเสริฐ ประชุมพร and ฟองสถิตย์กุล ประยูร}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={39–46} }