@article{แสงจันทร์_นาถะพินธุ_2017, title={สิ่งคุกคามและปัญหาสุขภาพจากการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด}, volume={7}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121784}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาสิ่งคุกคามสุขภาพและปัญหา<br>สุขภาพของคนงานในร้านรับซื้อของเก่าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในร้าน<br>รับซื้อของเก่าจำนวน 18 แห่งด้วยแบบประเมินร้านรับซื้อของเก่าของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวง<br>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และใช้แบบสัมภาษณ์คนงานในร้านรับซื้อของเก่า จำนวน 98 คน<br>วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน<br>มาตรฐาน<br>ผลการตรวจประเมินร้านรับซื้อของเก่าด้วยแบบประเมินร้านรับซื้อของเก่าซึ่งมีการแบ่งผลการ<br>ประเมินออกเป็น 3 ระดับคือระดับพื้นฐาน ดีและดีมาก พบว่าผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐานร้อยละ 11.11 และไม่<br>ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 88.89 เมื่อพิจารณาเกณฑ์แต่ละด้านพบว่าผ่านเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมร้อยละ 71.43 ผ่าน<br>เกณฑ์ด้านที่ตั้ง สภาพแวดล้อม อาคารและการสุขาภิบาลร้อยละ 50.00 ผ่านเกณฑ์ด้านการดำเนินงานร้อยละ<br>42.11 และผ่านเกณฑ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยร้อยละ 31.25 สภาพแวดล้อมในการทำงานที่<br>พบว่ายังเป็นปัญหาคือร้านรับซื้อของเก่าทั้งหมดยังไม่มีที่ชำระล้างฉุกเฉินและไม่มีอุปกรณ์เตือนเพลิงไหม้ มี<br>ถังดับเพลิงแต่ไม่พร้อมใช้งานร้อยละ83.33 การจัดน้ำดื่มไว้สำหรับผู้ปฏิบัติงานยังไม่ถูกสุขลักษณะร้อยละ<br>55.56 และการจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลยังไม่เพียงพอร้อยละ 55.56<br>คนงานในร้านรับซื้อของเก่าเป็นเพศชายร้อยละ 60.2 อายุเฉลี่ย 40.92 ปี ขั้นตอนการทำงานเริ่มจาก<br>การชั่งน้ำหนัก การจดบันทึก การคัดแยก การแปรรูปของเก่าและการบรรจุภาชนะซึ่งคนงานแต่ละคนสามารถ<br>ทำงานได้หลายหน้าที่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.71ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง สิ่งคุกคามสุขภาพที่พบคือมีการสัมผัสฝุ่น<br>ละอองร้อยละ 75.51 เสียงดังร้อยละ 52.04 การทำงานในบริเวณที่มีแสงแดดจ้าหรือทำงานกลางแดดร้อยละ 29.59<br>สัมผัสกับสิ่งคุกคามสุขภาพทางเคมีร้อยละ 23.47 และสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพร้อยละ 15.31 จากการ<br>สัมภาษณ์ปัญหาสุขภาพของคนงานพบว่าคนงานมีอาการทางสายตาร้อยละ 75.51 มีอาการทางการได้ยิน<br>ร้อยละ 31.63 มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 37.76 มีอาการทางระบบทางเดินหายใจร้อยละ 70.41 มีอาการ<br>ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร้อยละ 93.88 ในรอบปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุจากการทำงานร้อยละ 29.59 ส่วนใหญ่ร้อยละ<br>65.52เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานน้อยกว่าเดือนละครั้ง และร้อยละ 6.9มีระดับความรุนแรงจนต้องหยุดงาน<br>แต่ไม่เกินสามวัน ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำและมีแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งคุกคามสุขภาพ<br>เช่น ฝุ่นละอองในสถานที่ทำงาน เสียงดังจากเครื่องจักร มีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วน<br>บุคคลที่ถูกต้อง ท่าทางการทำงานที่เหมาะสมเพื่อให้คนงานดูแลตนเองไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานหรือ<br>โรคจากการประกอบอาชีพตลอดจนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องต่อไป</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={แสงจันทร์ บุญญิสา and นาถะพินธุ กาญจนา}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={18–24} }