@article{อารยางกูร_ศุกรเวทย์ศิริ_2017, title={ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรหญิงใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, volume={8}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/121002}, abstractNote={<p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) นี้มีวัตถุประสงค์<br>เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรหญิงในมหาวิทยาลัยขอนแก่น<br>จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรหญิงที่ปฏิบัติงานและเคยปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มี<br>อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 355 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง พฤษภาคม<br>พ.ศ. 2558 โดยการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ด้วยเครื่อง Quantitative ultrasonography (QUS):<br>Achilles InSight® ร่วมกับแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยวด้วยสถิติ<br>Chi-square หรือ Fisher’s exact test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นำมาหาขนาดความสัมพันธ์ด้วยสถิติ<br>วิเคราะห์ Simple logistic และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ<br>ลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio และระดับความเชื่อมั่น<br>95%<br>ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรหญิงในมหาวิทยาลัยขอนแก่น คิด<br>เป็นร้อยละ 5.1 (95%CI: 2.78-7.36) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว พบว่า ปัจจัยที่มี<br>ความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95<br>ได้แก่ สถานภาพโสดหรือสมรสแต่ไม่ได้อยู่กับคู่สมรส (OR=2.95, 95%CI: 1.12-7.82, p-value=0.023)<br>รายได้ต่อเดือนตั้งแต่สามหมื่นบาทขึ้นไป (OR=3.59, 95%CI: 1.01-12.74, p-value=0.036) การให้นมบุตร<br>(OR=0.37, 95%CI: 0.14-0.97, p-value=0.036) และการเคยตรวจประเมินภาวะกระดูกพรุน (OR=5.78,<br>95%CI: 2.16-15.45, p-value=0.001) เมื่อวิเคราะห์แบบตัวแปรพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ<br>กระดูกพรุน ได้แก่ สถานภาพโสดหรือสมรสแต่ไม่ได้อยู่กับคู่สมรส (ORadj=2.95, 95%CI: 1.08-8.00, p-value=<br>0.034 และการเคยตรวจประเมินภาวะกระดูกพรุน (ORadj=4.95, 95%CI: 1.74-14.09, p-value=0.003)<br>จากผลการศึกษา มีข้อมูลของปัจจัยด้านบุคคลและด้านสุขภาพที่ควรนำไปสู่การศึกษาวิจัยในเชิง<br>ลึก อีกทั้งข้อมูลของกลุ่มประชากรที่เป็นบริบทเฉพาะหลายอย่าง สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้าง<br>เสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มมวลกระดูกป้องกันภาวะกระดูกพรุน รวมทั้งป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพอื่นๆที่<br>เกี่ยวข้องได้</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={อารยางกูร กัลยา and ศุกรเวทย์ศิริ พรนภา}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={54–59} }