@article{เลาห์ประเสริฐ_ธวัชสิน_2017, title={การพัฒนาเหยื่อพิษจากมันสำปะหลังในการกำจัดแมลงสาบเยอรมัน}, volume={8}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/120999}, abstractNote={<p>ปัจจุบันการนำสารสกัดจากพืชมาใช้ในการกำจัดแมลงพาหะนำโรคเป็นวิธีที่นิยม เพราะสลายได้<br>ทางชีวภาพและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมี<br>วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) ที่มี<br>ต่อแมลงสาบเยอรมันระยะตัวเต็มวัย (Blattella germanica (L.)) โดยวิเคราะห์ความเป็นพิษเฉียบพลันใน<br>รูปมัธยฐานของระดับความเข้มข้น (LC50) โดยการกิน ในเวลา 24 ชั่วโมง (2) ศึกษาปริมาณสารไฮโดรเจน<br>ไซยาไนด์ที่พบจากลำต้น เปลือก เนื้อและใบของมันสำปะหลัง (3) ศึกษาความชอบอาหารของแมลงสาบ<br>เยอรมันที่มีต่อรูปแบบของเหยื่อล่อที่ผลิตจากมันสำปะหลัง โดยใช้ดัชนีชี้วัดของรอดเจอร์สในการบ่งชี้การ<br>เลือกชนิดอาหารของแมลงสาบ<br>ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเป็นพิษเฉียบพลันในรูปมัธยฐานของระดับความเข้มข้น (LC50) ของ<br>สารสกัดจากลำต้น เปลือก เนื้อและใบของมันสำปะหลังที่มีต่อแมลงสาบเยอรมันระยะตัวเต็มวัย ในเวลา 24 ชั่วโมง<br>มีค่าเท่ากับ 49.287 ppm 126.224 ppm 129.625 ppm และ 137.645 ppm (ตามลำดับ) (2) ปริมาณ<br>สารไซยาไนด์ที่พบจากส่วนต่างๆ ของมันสำปะหลังพบที่ลำต้นมีปริมาณสารไซยาไนด์มากที่สุด คือ 305.34<br>mgHCN/L รองลงมาคือที่เปลือก เนื้อ และใบ (156.19, 110.94 และ 32.83 mgHCN/L ตามลำดับ) (3)<br>เหยื่อล่อที่แมลงสาบเยอรมันเพศผู้และเพศเมียชอบมากที่สุดคือเหยื่อที่ประกอบด้วยมันสำปะหลังสุก 500 กรัม<br>น้ำตาลทราย 125 กรัมและสารสกัดเนื้อมันสำปะหลัง 30 มิลลิลิตร (A4) รองลงมาคือ เหยื่อที่ประกอบด้วย<br>มันสำปะหลังสุก 500 กรัม น้ำตาลทราย 125 กรัมและสารสกัดเปลือกมันสำปะหลัง 30 มิลลิลิตร (A3)<br>แมลงสาบเพศผู้ชอบเหยื่อล่อทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวมากกว่าชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05<br>แมลงสาบเพศเมียชอบเหยื่อล่อ A4 มากกว่าชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 นอกจากนี้พบว่า<br>แมลงสาบเพศผู้ชอบเหยื่อล่อ A3 มากกว่าเพศเมีย ในทางตรงกันข้ามแมลงสาบเพศเมียชอบเหยื่อที่<br>ประกอบด้วยมันสำปะหลังสุก 500 กรัม สารสกัดจากเนื้อวัว 125 กรัมและสารสกัดเนื้อมันสำปะหลัง<br>30 มิลลิลิตร (B4) มากกว่าเพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05<br>โดยสรุป ความเป็นพิษเฉียบพลันในรูปมัธยฐานของระดับความเข้มข้น (LC50) ของสารสกัดจากลำ<br>ต้นมันสำปะหลังมีความเป็นพิษสูงที่สุดต่อแมลงสาบเยอรมัน ปริมาณสารไซยาไนด์พบที่ลำต้นมากที่สุด ซึ่ง<br>สารสกัดจากมันสำปะหลังออกฤทธิ์ต่อแมลงสาบในลักษณะกินตาย (stomach poison) และเหยื่อล่อที่ใช้<br>ทดลองความชอบอาหารของแมลงสาบสามารถดึงดูดให้แมลงสาบมากินได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา<br>สารสกัดจากมันสำปะหลังในการใช้เป็นเหยื่อล่อเพื่อกำจัดแมลงสาบต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={เลาห์ประเสริฐ ประชุมพร and ธวัชสิน อภิวัฏ}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={27–35} }