@article{ไชยลังกา_เทพเทียน_จูเจริญ_2017, title={ภาวะซึมเศร้า ความคิดอัตโนมัติด้านลบ ทัศนคติบิดเบือนกับความคิดบิดเบือน ของผู้เสพยาบ้าอายุระหว่าง 18-24 ปี}, volume={10}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/120734}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความคิดของผู้เสพยาบ้าในสถานบําบัดรักษายาเสพติด กลุ่มตัวอย่างผู้เสพยาบ้าโรงพยาบาลธัญญารักษ์ โรงพยาบาลทั่วไป สถานบําบัดเอกชน และโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองเพศชายอายุ 18–25 ปี จํานวน 421 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแปลเป็นภาษาไทยได้แก่ แบบสอบถามวัดภาวะซึมเศร้าของ Beck’s แบบสอบถามวัดความคิดอัตโนมัติเชิงลบของ Kendell and Steven D. Holl แบบวัดทัศนคติบิดเบือนของ Arlene Weissman และความคิดบิดเบือนของ Roger Covin วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป SPSS version 21ผลการวิจัยพบว่า ผู้เสพยาบ้า 1ใน 3 มีภาวะซึมเศร้ามีความคิดอัตโนมัติเชิงลบเป็นประจําร้อยละ 16 มีทัศนคติบิดเบือนร้อยละ 14 มีความคิดบิดเบือนร้อยละ 15 ผู้เสพยาบ้ามีความคิดบิดเบือนประเภทลดทอนเรื่องราวเชิงบวกขยายเรื่องราวเชิงลบ (Minimizing or Disqualifying the positive) มากที่สุด รองลงมาคือ ความคิดควรทํา (Should statement) และความคิดแบบหายนะ (Catastrophizing)ตามลําดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าคนที่มีความคิดอัตโนมัติด้านลบมากคนที่มีระดับภาวะซึมเศร้าสูง และคนที่มีทัศนคติบิดเบือนมากจะเป็นคนที่มีความคิดบิดเบือนมากด้วยอย่างมีนัยสําคัญ การให้คําปรึกษากับผู้เสพยาบ้าควรมีการประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ ภาวะซึมเศร้า ทัศนคติบิดเบือน และความคิดบิดเบือน เพื่อการหาเหตุผลที่ชัดเจนอันจะนําไปสู่การปรับเปลี่ยนหรือลดความคิดและทัศนคติที่บิดเบือนลงได้ ส่งผลให้การบําบัดฟื้นฟูมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นได้</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ไชยลังกา เปรมจิต and เทพเทียน บังอร and จูเจริญ ประภาพรรณ}, year={2017}, month={ก.ค.}, pages={73–85} }