@article{พลศักดิ์_ตัญตรัยรัตน์_จังโกฎิ_2018, title={ผลของน้ําหมักชีวภาพต่อการลดระยะเวลาการผลิตปุ๋ยหมักจากมูลฝอย เทศบาลเมืองยโสธร}, volume={10}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/119533}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาการผลิตปุ๋ยหมักจากมูลฝอยประเภทมูลฝอยอินทรีย์ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร โดยใช้น้ําหมักชีวภาพเป็นสารเร่งกระบวนการหมัก 2 ชนิดคือ น้ําหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นเอง และนําหมักชีวภาพจากหัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน (สารเร่งซุปเปอร์ พด.1) ในการทดลองได้กําหนดสัดส่วนการเจือจางสารเร่งต่อน้ําเท่ากับ 1:50 1:100 และ 1:200 และทดสอบโดยการใช้น้ําสะอาดเป็นตัวควบคุม ทําการทดลองโดยเติมน้ําหมักชีวภาพลงในกองมูลฝอย ควบคุมความชื้นของกองมูลฝอยด้วยการพลิกกลับกองมูลฝอยทุกวัน ทําการติดตามตรวจวัดความชื้น อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง โดยทําการทดลองซ้ํา 3 ครั้ง จากผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิ และความชื้นในกองมูลฝอยจะสูงขึ้นในช่วงแรก จากนั้นจะลดลงจนมีระดับคงที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมัก ค่าความเป็นกรด-ด่างพบว่ากองมูลฝอยมีความเป็นกรดในช่วงแรกและมีค่าเป็นด่างเมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมัก ส่วนระยะเวลาในการผลิตปุ๋ยหมักพบว่าเมื่อใช้สารเร่งน้ําหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นเองที่สัดส่วนเจือจาง 1:50 และสารเร่งซุปเปอร์พด.1 ที่สัดส่วนเจือจาง 1:100 น้ําหมักชีวภาพทั้งสองชนิดใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักน้อยที่สุดประมาณ 29 วัน ซึ่งเร็วกว่าน้ําสะอาดที่เป็นชุดควบคุมใช้เวลาในการย่อยสลาย 36 วัน เมื่อตรวจวัดค่าปริมาณแร่ธาตุได้แก่ ไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปุ๋ยหมักที่ได้มีค่าปริมาณแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการทําปุ๋ยหมักของกรมวิชาการเกษตร ดังนั้นจึงสรุปผลการวิจัยได้ว่าการใช้น้ําหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นเอง และสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ที่อัตราส่วนเจือจางสารเร่งต่อน้ํา 1:50 สามารถทําให้ผลิตปุ๋ยหมักจากมูลฝอยเร็วขึ้น 7 วัน และปุ๋ยหมักที่ได้มีปริมาณแร่ธาตุเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการมีความเหมาะสมในการนําไปใช้เป็นปุ๋ยหมักได</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={พลศักดิ์ ปทิตญา and ตัญตรัยรัตน์ พฤกษ์ and จังโกฎิ ฤทธิรงค์}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={19–27} }