@article{วิตตาภรณ์_ปานรักษา_2018, title={การพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพในแรงงานข้ามชาติประมงในน่านน้ำ ประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร}, volume={10}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/119527}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบนำร่องการดูแลสุขภาพตนเอง โดยใช้แนวคิดนักจัดการสุขภาพดำเนินกิจกรรมสุขภาพในแรงงานข้ามชาติที่ประกอบอาชีพประมงในน่านน้ำไทย และศึกษาวิถีชีวิตและปัญหาสุขภาพของลูกเรือประมงผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการและแรงงานข้ามชาติประกอบอาชีพประมงบนเรือ 3 ประเภท คือ เรืออวนลากคู่ เรืออวนล้อม และเรืออวนลอยปลาทู แรงงานในเรืออวนลากคู่ใช้ชีวิตอยู่กลางทะเลนานที่สุด อุบัติเหตุในการทำงานจากการใช้เครื่องจักรทุ่นแรงเกิดในเรืออวนลากคู่และเรืออวนล้อม ส่วนเรืออวนลอยปลาทูที่แล่นหาปลาใกล้ชายฝั่งกลับประสบกับปัญหาแพ้แมงกะพรุนการอบรมหลักสูตร “นักจัดการสุขภาพ” ประกอบด้วยเนื้อหา การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ การใช้ยาสามัญประจำบ้าน และการป้องกันโรคติดต่อมีลูกเรือผ่านการอบรมทั้งหมด 90 คน และจัดตั้งสถานีอนามัยลอยน้ำในเรือ 5 ลำ ผู้จัดการสุขภาพได้ท าหน้าที่ดูแลลูกเรือที่เจ็บป่วย ผู้ป่วยที่มาใช้บริการมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ไข้หวัด ท้องอืด ปวดเมื่อย และอุบัติเหตุจากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ขยายผลการฝึกอบรมให้กับลูกเรือประมงในหลักสูตรการอบรมพัฒนาผู้จัดการสุขภาพ และจัดตั้งสถานีอนามัยลอยน้ำเพิ่มเติมอีก เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ในช่วงก่อนที่เรือจะเข้าถึงฝั่ง ควรร่วมมือกับสมาคมประมง หรือส านักงานประมง โดยกำหนดให้เรือแต่ละลำต้องมีผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักจัดการสุขภาพอย่างน้อย 1 คน และควรพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนการท างานของสถานีอนามัยกลางน้ำที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={วิตตาภรณ์ สุภา and ปานรักษา ขนิษฐา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={28–39} }