@article{โพธิ์ขี_เกียรติกิจโรจน์_2018, title={แนวทางป้องกันอันตรายในงานพ่นสีรถยนต์}, volume={10}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/119523}, abstractNote={<p>ปลายปี 2554 ประเทศไทยประสบเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายและระหว่างปี 2554-2555 รัฐบาลไทยมีนโยบายรถยนต์คันแรก ส่งผลให้มีจำนวนรถยนต์บนท้องถนนเพิ่มขึ้น ประกอบกับจำนวนการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์บนท้องถนนเพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ส่งผลให้สถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ในประเทสไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ส่วนใหญ่เติมโตมาจากธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นนักธุรกิจขนาดเล็กมีเงินลงทุนจำนวนไม่มากนักและใช้เทคโนโลยีไม่ทันสมัย พนักงานขาดความตระหนักด้านความปลอดภัยและมองข้ามสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งงานซ่อมรถยนต์ เป็นงานที่มีอันตราย พบร้อยละ 24.21 ของงานซ่อมรถยนต์ทั้งหมด ผลการสำรวจร้านซ่อมรถยนต์ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ช่างพ่นสีรถยนต์ส่วนหญ่ (ร้อยละ 86.96) ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะพ่นสี ขณะพ่นสีช่างพ่นสีบางส่วนมีปัญหาเกี่ยวกับอาการผื่นคันหรือผื่นแพ้ หลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น ทินเนอร์หรือน้ำมันก๊าดที่ใช้ในการล้างชิ้นส่วนรถยนต์ เนื่องจากไม่สวมถุงมือป้องกันสารเคมีขณะปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 78.62 ไม่มีห้องสำหรับพ่นสีโดยเฉพาะและไม่มีระบบระบายอากาศสำหรับการพ่นสีทำการพ่นสีในพื้นที่โล่งภายในร้าน ปริมาณที่พ่นมากกว่าครึ่งหนึ่งกระจายสู่บรรยากาศซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่อาศัยในพื้นที่่ข้างเคียง และทำให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อชุมชนรอบข้าง นำไปสู่การร้องเรียนเพราะร้านซ่อมรถยนต์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชุมชน ดังนันร้านซ่อมรถยนต์ควรมีแนวทางการป้องกันอันตรายในงานพ่นสีรถยนต์</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={โพธิ์ขี วิภารัตน์ and เกียรติกิจโรจน์ กานต์พิชชา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={1–8} }