@article{ราชูธร_นาถะพินธุ_2018, title={สถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสวนสาธารณะ ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ}, volume={4}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118849}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอนามัย<br>สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสวนสาธารณะ 3 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ เครื่องมือ<br>ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้ที่มาใช้บริการสวนสาธารณะ จำนวน 580 คน และการสัมภาษณ์<br>เชิงลึก ประธานชุมชนจำนวน 3 คน และผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 12 คนช่วงเวลาทำการศึกษา<br>ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2553 – มกราคม 2554 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์<br>สำเร็จรูป STATA10 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ<br>50.6 เพศหญิงร้อยละ 49.3 อายุอยู่ในช่วงน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 35.7 รองลงมาอายุระหว่าง<br>21-30 ปี ร้อยละ 34.6 ระดับการศึกษาพบว่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 33.6<br>อาชีพเป็นนักเรียนร้อยละ 47.5 รองลงมาเป็นอาชีพ ลูกจ้างบริษัท/ร้านค้า ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ<br>ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอื่นๆ ร้อยละ 25.7, 14.3, 11.1 และ 1.4 ตามลำดับ และสถานที่พัก<br>อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลร้อยละ 76.8 อยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 21.1 ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม<br>ของสวนสาธารณะประชาชนที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เห็นว่า อยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 88.5 ข้อเสนอแนะ<br>ควรเพิ่มจำนวนถังขยะให้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณสวนสาธารณะ และควรนำขยะไปกำจัดทุกวันและ<br>ควรมีการบริการน้ำดื่มที่สะอาดแก่ประชาชนที่มาใช้บริการเพื่อเป็นการประหยัดและดีต่อสุขภาพ<br>ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของสวนสาธารณะประชาชน ส่วนใหญ่เห็นว่า อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ<br>88.0 ข้อเสนอแนะควรเพิ่มการให้บริการฟรีของเครื่องเล่นฟรี หรือ เช่าในราคาถูก ควรเพิ่มสนาม<br>เด็กเล่นให้มากขึ้น โดยเฉพาะสนามฟุตบอลเล็กสำหรับเด็กเล็ก เพิ่มสนามแบดมินตัน และเพิ่ม<br>เรื่องความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสนามและขยายลู่วิ่ง เพราะปัจจุบันแคบและแออัดเมื่อมีคน<br>มาใช้บริการพร้อมๆ กัน ด้านความปลอดภัยจากการใช้บริการประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าอยู่ในระดับ<br>พอใช้ร้อยละ 85.0 ข้อเสนอแนะควรเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพิ่มแสงสว่างของไฟฟ้ า<br>ในพื้นที่เสี่ยง เช่น มุมที่ต้นไม้หนาแน่น ควรมีการเปิ ด-ปิ ด สวนสาธารณะเป็นเวลาอย่างเคร่งครัด<br>ไม่ให้ เหล่ามิจฉาชีพพวกที่มาใช้สวนสาธารณะที่ไม่พึงประสงค์มาใช้ยามวิกาลและควรมีป้ าย<br>ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนจุดเสี่ยงอันตรายแก่ผู้มาใช้บริการ เช่น จุดบริเวณน้ำลึก จุดถนนลื่น<br>เป็นต้น ควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ และ<br>มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเข้ามาประสานจัดการในการศึกษาวิจัยศักยภาพ<br>สวนสาธารณะทุกแห่ง จากนั้นนำผลการวิจัยที่ได้ไปจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาการดำเนินงาน<br>ให้สอดคล้องรองรับซึ่งกันและกันด้วยวิธีการเช่นนี้ จะทำให้การจัดการสวนสาธารณะมีเป้ าหมาย<br>ทิศทางที่เหมาะสมแก่ประเทศชาติและประชาชนยิ่งขึ้น</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ราชูธร ทิวากรณ์ and นาถะพินธุ กาญจนา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={63–72} }