@article{หอมสมบัติ_ชายเกลี้ยง_2018, title={ความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ ส่วนบนในแรงงานนอกระบบ กลุ่มคนงานทำไม้กวาด}, volume={3}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118809}, abstractNote={<p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกและ<br>หาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ส่วนบน (MSULDs) จาก<br>การทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มคนงานทำไม้กวาด กลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกแบบเจาะจงของคนงานทำไม้กวาดร่มสุข<br>ตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 80 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล<br>และการเกิด MSULDs การประเมินความเข้มของแสงสว่างในบริเวณที่ทำงาน และการวัดประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูล<br>โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square และ Fisher’s exact test<br>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-57 ปี เป็นหญิงร้อยละ 53.8 จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 90.0 ส่วนใหญ่มี<br>ความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อยร้อยละ 46.3 เครียดปานกลางร้อยละ 33.8 อาชีพหลักคือ ทำไม้กวาดและเกษตรกรรมร้อยละ 48.8<br>และร้อยละ 47.5 มีรายได้เฉลี่ย 5,200 บาท (SD=983.81) สภาพแวดล้อมการทำงานทำไม้กวาด คือ นั่งเก้าอี้มีพนักพิงร้อยละ 48.8<br>และนั่งราบกับพื้นไม่มีพนักพิงร้อยละ 32.5 ไม่มีอุปกรณ์เสริมสำหรับการนั่งร้อยละ 65.0 การตรวจวัดแสงสว่างหน้างานพบความเข้ม<br>63 - 462 ลักซ์ ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด (300 ลักซ์) ในบางแผนก (ร้อยละ 25.0) ความชุกของความผิดปกติของระบบกระดูกและ<br>กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและรยางค์ส่วนบนช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีถึงร้อยละ 83.8 โดยพบในตำแหน่งคอ ร้อยละ 31.3 หลัง<br>ส่วนล่างร้อยละ 28.8 ไหล่ร้อยละ 25.0 และมือ/ข้อมือร้อยละ 15.0 ลักษณะอาการ คือ ปวดเมื่อยธรรมดาร้อยละ 90.0 สาเหตุการ<br>ปวดมาจากนั่งในท่าเดียวนานๆร้อยละ 92.5 ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านแรงบีบมือและความอ่อนตัว พบว่า ทั้งชายและ<br>หญิงส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี ด้านแรงเหยียดหลัง พบว่า ส่วนใหญ่คนงานชายอยู่ในระดับต่ำถึงพอใช้ และเพศหญิงเกิน<br>ครึ่งหนึ่งมีแรงเหยียดหลังในระดับค่อนข้างต่ำ และพบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับหน้างาน ประเภทที่นั่ง<br>การวางอุปกรณ์/เครื่องมือเครื่องใช้สมรรถภาพทางกายด้านแรงบีบมือในคนงานหญิงและด้านแรงเหยียดหลังทั้งชายและหญิง<br>จากการศึกษามีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการย<br>ศาสตร์หน้างานเพื่อป้องกันการทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมของคนงาน ให้คนงานกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ต้องนั่งทำงานระยะ<br>เวลานาน ตระหนักในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาโรคของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนั้น<br>สามารถใช้การทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อหลังเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่ม<br>แรงงานที่คล้ายคลึงกันต่อไปได้</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={หอมสมบัติ ธัญญาวัฒน์ and ชายเกลี้ยง สุนิสา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={1–10} }