@article{อุดมเดช_เขียวอยู่_2018, title={ความชุกของปัญหาการดื่มสุราและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ}, volume={9}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118775}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก<br>และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการดื่มสุราในผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ<br>ตัวอย่างเป็นเกษตรกรอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 700 คน เป็นชาย 496 คน หญิง 204 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ<br>มีระบบจากบัญชีรายชื่อประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั้งหมด ประเมินปัญหาการดื่มสุราโดยใช้<br>Alcohol Use Disorder Identification Test (AUDIT) ฉบับภาษาไทย<br>ผลการวิจัยพบว่าความชุกของการดื่มสุราที่เป็นปัญหาในตัวอย่างทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 80.6 (95% CI=<br>77.6-83.6) โดยความชุกในเพศชายมากกว่าหญิงซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 85.5 (95% CI=82.4-88.6) และร้อยละ 68.6<br>(95% CI=62.3-75.0) ตามลำดับเมื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยในตัวอย่างชายและหญิงด้วยการ<br>วิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกแบบลำดับ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เกษตรกรชายที่มีการ<br>รับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสูงจะมีปัญหาการดื่มสุราน้อยกว่าเกษตรกรที่มีการรับรู้<br>ในระดับต่ำ (ORadj=0.54; 95% CI=0.31-0.96) เกษตรกรหญิงที่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า<br>มีการดื่มสุราแบบเสี่ยงน้อย สูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาในระดับสูงกว่าปฐมศึกษา (ORadj=2.11; 95% CI=1.11-<br>3.99) เกษตรกรหญิงที่มีภาระเลี้ยงดูบุตรหรือบุคคลในครอบครัว มีการดื่มสุราแบบเสี่ยงน้อย สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มี<br>ภาระการเลี้ยงดูบุตรหรือบุคคลในครอบครัว (ORadj=0.37; 95% CI=0.16-0.86) และเกษตรกรหญิงที่ได้รับสื่อ<br>โฆษณาทางวิทยุ มีการดื่มสุราแบบเสี่ยงน้อย สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสื่อโฆษณาทางวิทยุ (ORadj=3.32; 95% CI=<br>0.17-1.28)<br>สรุป ความชุกของปัญหาการดื่มสุราพบมากทั้งเกษตรกรชายและหญิง โดยปัญหาการดื่มสุราของ<br>เกษตรกรชายและหญิงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่แตกต่างกัน</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={อุดมเดช นฤมล and เขียวอยู่ จิราพร}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={67–74} }