@article{สีดา_ไตรทิพย์สมบัติ_2018, title={ผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกสนวนอำเภอชำนิจังหวัดบุรีรัมย์}, volume={9}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118770}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อการ<br>ควบคุมระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงตำบลโคกสนวน อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์โดย<br>การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม<br>กลุ่มละ 44 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยกำหนดเกณฑ์คัดเข้าใช้ระยะเวลาในการศึกษา12 สัปดาห์ โดยกลุ่ม<br>ทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมสุขศึกษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประกอบด้วย การประเมินอาการตนเอง การ<br>บรรยายให้ความรู้ประกอบสื่อการเสนอบุคคลต้นแบบที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและต้องได้รับการรักษา<br>ด้วยยา การสาธิตและฝึกปฏิบัติการเลือกรายการอาหารการทำน้ำผักผลไม้เพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายด้วย<br>ภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยนำผ้าขาวม้ามาใช้เป็นอุปกรณ์การออกกำลังกายแทนไม้<br>พลองการนั่งสมาธิและการนวดเพื่อคลายเครียด และการบันทึกพฤติกรรม การให้สมาชิกภายในกลุ่มเล่าถึงการ<br>ปฏิบัติตัวที่ผ่านมาและความตั้งใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารการออกกำลังกาย และการ<br>จัดการความเครียดการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมในสัปดาห์ที่ 8-11 จากผู้วิจัย อาสาสมัครสาธารณสุข<br>ประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนรวมทั้งการติดตามเยี่ยมบ้านเป็นรายบุคคลสัปดาห์ละ 1 ครั้งส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ<br>ได้รับกิจกรรมสุขศึกษาตามปกติวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่าง<br>ด้วยสถิติ Dependent t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br>ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง<br>การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคความดัน<br>โลหิตสูง การรับรู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ความตั้งใจที่จะปฏิบัติตัวเพื่อ<br>ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มากกว่าก่อนการทดลอง<br>และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตตัวบน<br>ลดลง 13 มิลลิเมตรปรอท และมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตตัวล่างลดลง 14 มิลลิเมตรปรอท อย่างมี<br>นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br>ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขศึกษามีประสิทธิภาพในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกัน<br>โรคและสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={สีดา สุภารัตน์ and ไตรทิพย์สมบัติ จารุวรรณ}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={40–47} }