@article{เจริญสุข_นาถะพินธุ_2018, title={ผลกระทบต่อสุขภาพจากภัยน้ำท่วมและการปรับตัวของประชาชน ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ}, volume={5}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118239}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพและการปรับตัวของ<br>ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยการศึกษามี 2 ส่วน คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และการเก็บ<br>ข้อมูลเชิงคุณภาพ ศึกษาในหมู่บ้านที่ประสบปัญหา น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัด<br>ชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 หลังคาเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์<br>แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการปรับตัวของประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย<br>ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ<br>โดยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของน้ำท่วมเกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนร้อยละ<br>83.6 พายุร้อยละ 38.1 และมีการก่อสร้างขวางทางนํ้าไหลร้อยละ 31.0 ผลกระทบด้านอนามัย<br>สิ่งแวดล้อม พบว่ามีปัญหาการขาดแคลนอาหารร้อยละ 89.6 มีปัญหาส้วมอุดตันใช้ไม่ได้ร้อยละ<br>81.0 มีปัญหายุงมากขึ้นร้อยละ 45.1 มีปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ร้อยละ 18.3 มีปัญหาขาดแคลน<br>น้ำดื่ม ร้อยละ 13.1 มีปัญหาไม่มีที่ทิ้งขยะร้อยละ 11.2 มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น<br>ร้อยละ 3.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่ามีครอบครัวที่มีที่นาเสียหายโดยสิ้นเชิงร้อยละ 70.1<br>ผลกระทบต่อสุขภาพ พบว่า มีการเจ็บป่วยร้อยละ 49.3 ส่วนใหญ่คือโรคนํ้ากัดเท้าร้อยละ 94.7<br>ไข้หวัดร้อยละ 12.1 และมีความเครียดร้อยละ 6.1 ประสบอุบัติเหตุร้อยละ 2.7 สาเหตุคือลื่นล้ม<br>ร้อยละ 57.1 ด้านการปรับตัว มีการปรับบ้านและถมดินรอบบ้านให้สูงขึ้นร้อยละ 67.6 มีการสร้าง<br>บ้านแบบสองชั้น ร้อยละ 94.1 มีการสร้างห้องสุขาให้สูงขึ้น มีการเตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง และ<br>สถานที่ประกอบอาหาร มีการทำนาปี ลดลงแต่ทำปรังเพิ่มมากขึ้น การทำนาปี จะใช้วิธีการหว่านเมล็ด<br>มากกว่าปักดำเพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่วนใหญ่เลิกเลี้ยงสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์จำนวนน้อยลง หรือปรับ<br>ช่วงเวลาในการเลี้ยงในฤดูแล้งและขายในฤดูฝน มีการตั้งกฎระเบียบในการสร้างบ้านใหม่และ<br>การปรับบ้านถมดินให้สูงขึ้นแต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะประชาชนกลัวน้ำท่วม และประชาชน<br>เชื่อการเตือนภัยน้ำท่วมมากขึ้น จากผลการศึกษาพบว่าการประชาชนส่วนใหญ่มีการปรับตัวและ<br>มีการวางแผนป้องกันนํ้าท่วมในระดับครัวเรือน แต่ขาดการวางแผนป้องกันนํ้าท่วมในระดับชุมชน<br>ชุมชนควรมีการวางแผนในการป้ องกันน้ำท่วมในภาพรวมทั้งชุมชน</p>}, number={3}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={เจริญสุข ชาญชัย and นาถะพินธุ กาญจนา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={1–10} }