@article{คำป้อง_ชายเกลี้ยง_2018, title={ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดหลังจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น}, volume={6}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118193}, abstractNote={<p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytic study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังจากการท างานของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 313 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวัดประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยโลจิสติก (logistic regression analysis) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 88.50 อายุเฉลี่ย 40.08 ปี มีประสบการณ์ในการเย็บผ้าเฉลี่ย 11.34 ปี พบความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 7 วันและ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 80.51 และ 87.22 ตามล าดับ ในระยะ 7 วันที่ผ่านมา มีความชุกสูงสุดในตำแหน่ง เอว/หลังส่วนล่าง เข่าซ้าย/ขวา หลังส่วนบนและไหล่ ตามล าดับ ระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา มีความชุกสูงสุดที่สุดตำแหน่งเอว/หลังส่วนล่าง เข่าซ้าย/ขวา น่องซ้าย/ขวา และคอ ตามล าดับ ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ พอใช้ ทั้งแรงเหยียดหลัง (ร้อยละ 34.50) แรงเหยียดขา (ร้อยละ 36.42) และแรงบีบมือ (ร้อยละ 39.62) มีความเครียดจากการท างานร้อยละ 48.88 พบความชุกของการปวดหลัง ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 60.38 (95%CI=57.32-68.30) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของแรงงานเย็บผ้าสำเร็จรูป ได้แก่ ท่าทางการท างานซ้ าซาก (repetitive of motion) (ORadj=7.09; 95%CI=2.94-17.11; p-value<0.001) ความเครียด (work stress) (ORadj=3.11; 95%CI=1.70-5.67; p-value<0.001) สมรรถภาพกล้ามเนื้อหลัง (strength of back muscle) (ORadj=2.91; 95% CI=1.35-6.26; p-value=0.006) และสถานที่ทำงานอากาศร้อนอบอ้าว (very warm environment) (ORadj=2.45; 95% CI=1.39-4.33; p-value=0.002)</p> <p>จากการพบความชุกสูงของการปวดหลังของแรงงานเย็บผ้าสำเร็จรูปนี้ และปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลัง ทั้งปัจจัยจากการท างาน ความเครียดและ สุขภาพ จึงควรจัดให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยองค์กรในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงและการวางแผนป้องกันการปวดหลังจากการท างานของแรงงานเย็บผ้า เช่นการอบรมทางการยศาสตร์การท างานแก่แรงงาน</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={คำป้อง ธวัชชัย and ชายเกลี้ยง สุนิสา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={70–78} }