@article{ลากวงษ์_ศุกรเวทย์ศิริ_2018, title={คุณภาพของการรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดยโสธร}, volume={5}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118173}, abstractNote={<p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์<br>เพื่อศึกษาคุณภาพของการรายงานผู้ป่ วยโรคไข้เลือดออก ในโรงพยาบาลของรัฐของจังหวัดยโสธร<br>และศึกษาค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวกและผลลบ ของการรายงานผู้ป่ วย<br>ไข้เลือดออก ในระบบรายงาน 506/507 และการวินิจฉัยของแพทย์เบื้องต้นของผู้ป่ วย<br>ไข้เลือดออก เปรียบเทียบกับรายงานผู้ป่ วยในระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาลของรัฐ ประชากรที่<br>ศึกษาเป็นผู้ป่ วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2553 ในโรงพยาบาล<br>ของรัฐของจังหวัดยโสธรทั้งหมด 9 แห่ง โดยค้นหาผู้ป่ วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ<br>(ICD-10) A90, A91, B349 และ R509 พบประชากรที่ศึกษา จำนวน 7,125 ราย พบกลุ่ม<br>ตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่ วย เข้าข่ายตามนิยามที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 890 ราย เก็บข้อมูลตามแบบ<br>คัดลอกที่สร้างขึ้นเองได้ จำนวน 732 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิง<br>พรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่ามัธยฐาน ผลการศึกษาพบว่า<br>ความครบถ้วนของการรายงานผู้ป่ วย DHF ร้อยละ 30.5 (223 ราย) โดยตัวแปรมีความ<br>ครบถ้วนทุก ตัวแปร (223 ราย) ความถูกต้อง พบตัวแปรที่รายงานความถูกต้องครบทุกราย คือ<br>ตัวแปรเพศ ตัวแปรที่มีความถูกต้องต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย วันพบ<br>ผู้ป่ วย และวันเริ่มป่ วย ร้อยละ 71.3, 70.9 และ 43.0 ตามลำดับ สำหรับความทันเวลาซึ่ง<br>โรงพยาบาลทุกแห่งจะต้องรายงานมาที่ศูนย์ระบาดวิทยาประจำจังหวัด ภายใน 1 วันหลังจากพบ<br>ผู้ป่ วยและแพทย์ลงความเห็นเป็นผู้ที่เข้าข่ายสงสัยไข้เลือดออก พบว่า มีจำนวนรายงานผู้ป่ วย<br>ทันเวลา ร้อยละ 46.6 (104 ราย) สำหรับค่าความไวของระบบรายงาน 506/507 ร้อยละ 30.6<br>ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 97.9 ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 67.3 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 90.8<br>สำหรับค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวกและผลลบของการวินิจฉัยของแพทย์<br>เปรียบเทียบกับนิยามการวินิจฉัยเบื้องต้นเมื่อแพทย์วินิจฉัยไข้เดงกี พบว่าค่าความไว ร้อยละ 23.7<br>ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 44.4 ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 29.0 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 37.8 ใน<br>กรณีแพทย์วินิจฉัยเป็นไข้เลือดออก พบค่าความไว ร้อยละ 72.9 ค่าความจำเพาะ ร้อยละ 80.2<br>ค่าทำนายผลบวก ร้อยละ 77.9 ค่าทำนายผลลบ ร้อยละ 75.6 สรุปได้ว่า คุณภาพของการรายงาน<br>ผู้ป่ วยไข้เลือดออก ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดยโสธร อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะความครบถ้วน<br>ของการรายงานผู้ป่ วย และ ความทันเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งรัด ควบคุม กำกับ<br>คุณภาพของการรายงานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ในส่วนของการ<br>วินิจฉัยของแพทย์ยังใช้นิยามประกอบการวินิจฉัยค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะการวินิจฉัยไข้เดงกี<br>ดังนั้น ควรมีการอบรมแพทย์จบใหม่เกี่ยวกับนิยามการวินิจฉัยโรคอย่างต่อเนื่องทุกปี</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ลากวงษ์ ปรีชา and ศุกรเวทย์ศิริ พรนภา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={55–64} }