@article{ภิราล้ำ_ศุกรเวทย์ศิริ_ประภาศิริ_2018, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยปอดอักเสบชุมชน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของจังหวัดนครพนม}, volume={5}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118167}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางและการศึกษาแบบ Case-control เพื่อหาความชุกของ<br>วัณโรคปอดและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่ วยเป็ นวัณโรคปอดในผู้ป่ วยปอดอักเสบชุมชน<br>(Community-acquired pneumonia; CAP) ที่ถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาลของจังหวัดนครพนม ระหว่าง<br>วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่ วย<br>ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยใช้แบบฟอร์มมาตรฐานการเฝ้ าระวังเชิงรุกโรคปอดอักเสบชุมชนของโครงการ<br>โรคติดเชื้ออุบัติใหม่จังหวัดนครพนมและสัมภาษณ์ผู้ป่ วย CAP จำนวน 400 คน เป็นกลุ่มศึกษา คือ<br>ผู้ป่ วย CAP ที่ป่ วยเป็นวัณโรคปอด จำนวน 200 คน และกลุ่มควบคุม คือผู้ป่ วย CAP ที่ไม่ป่ วยเป็นวัณ<br>โรคปอด จำนวน 200 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานแบบไคสแควร์และการวิเคราะห์แบบ<br>พหุถดถอยลอจิสติกเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่ วย<br>CAP ทั้งหมด 10,501 คน เป็นวัณโรคปอดรายใหม่ จำนวน 385 คน คิดเป็นอัตราความชุก 36.66 ต่อ<br>ผู้ป่ วย CAP 1,000 คน หรือคิดเป็น 3,666 ต่อผู้ป่ วย CAP 100,000 คน มากกว่าความชุกของวัณโรค<br>ในประชากรทั่วไปของจังหวัดนครพนม 53 เท่า โดยพบความชุกในเพศชายมากกว่าเพศหญิง คิดเป็น<br>อัตราความชุกของวัณโรค 50.99 ต่อประชากร 1,000 คน มีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.5 กลุ่ม<br>ศึกษาอายุเฉลี่ย 51.216.5 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 72.0 กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 57.516.7 ปี เป็น<br>เพศชาย ร้อยละ 56.0 การวิเคราะห์แบบพหุถดถอยลอจิสติกโดยควบคุมตัวแปรกวนเพศและอายุพบว่า<br>ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่ วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่ วย CAP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เคย<br>ใกล้ชิดผู้ป่ วยวัณโรค (ORadj=9.03; 95% CI=3.29-24.77) การพบแผลโพรงในปอด (ORadj=4.71;<br>95% CI=1.56-14.14) เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj=3.86; 95% CI=1.86-8.02) ไอเป็น<br>เลือด (ORadj=3.61; 95% CI=1.12-11.67) หายใจไม่มีเสียงหวีด (ORadj=3.66; 95% CI= 1.81-<br>7.41) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกผิดปกติ (ORadj=2.98; 95% CI=1.73-5.14) ไอมีเสมหะ (ORadj=2.53;<br>95% CI=1.46-4.38) มีประวัติการเจ็บป่วยร่วมคือ โรคไต (ORadj=0.18; 95% CI=0.05-0.64)<br>การศึกษาระดับประถมศึกษา (ORadj=0.33; 95% CI=0.15-0.71) และไม่ได้ทำงาน (ORadj R=0.17;<br>95% CI=0.08-0.38) ความชุกวัณโรคปอดค่อนข้างสูงในผู้ป่ วย CAP ผู้ป่ วยผู้ใหญ่ที่ถูกรับไว้รักษา<br>ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่ วย CAP ที่เคยใกล้ชิดกับผู้ป่ วยวัณโรค มีอาการไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือดและ<br>พบแผลโพรงในปอดควรได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรคทุกราย และควรมีพัฒนาแบบคัดกรองทาง<br>คลินิก เพื่อใช้ค้นหาการป่ วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่ วย CAP เพื่อประโยชน์ในการรักษาและการป้ องกัน<br>การแพร่กระจายของวัณโรคต่อไป</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={ภิราล้ำ บารเมษฐ์ and ศุกรเวทย์ศิริ พรนภา and ประภาศิริ ปราบดา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={45–54} }