@article{แสงภักด์ิ_ศุกรเวทย์ศิริ_2018, title={ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขาดการขึ้นทะเบียนรักษาของผู้ป่ วยวัณโรค ปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ.2553}, volume={5}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118155}, abstractNote={<p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มี<br>ความสัมพันธ์กับการขาดการขึ้นทะเบียนรักษาผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในจังหวัด<br>ยโสธร เก็บข้อมูลจากการคัดลอกทะเบียนผู้ป่ วยวัณโรคและทะเบียนชันสูตรผู้ป่ วยวัณโรคจาก<br>โรงพยาบาลภาครัฐ 9 แห่ง และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลที่บ้านผู้ป่ วยที่ตรวจเสมหะพบเชื้อ<br>ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม<br>STATA version 10.0 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบตัวแปรพหุถดถอยลอ<br>จีสติก โดยแสดงค่า ORadj และ 95%CI ของ ORadj ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา<br>พบว่า ผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ จำนวนทั้งหมด 348 ราย และความชุกวัณโรค<br>เสมหะบวกรายใหม่ 66.4 ต่อประชากรแสนคน แยกเป็นผู้ป่ วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 250<br>ราย และผู้ป่ วยวัณโรคที่ขาดการขึ้นทะเบียน อัตราร้อยละ 28.2 (98 ราย) โดยมีผู้เสียชีวิต อัตรา<br>ร้อยละ 9.2 และติดตามเก็บข้อมูลได้ อัตราร้อยละ 80.6 (79 ราย) อัตราการขาดการขึ้นทะเบียน<br>วัณโรค เพศชาย อัตราร้อยละ 26.5 เพศหญิง อัตราร้อยละ 18.8 อายุ 30-34 ปี ร้อยละ 37.5 อายุ<br>เฉลี่ย 52.3 ± 15.6 ปี ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 68.8 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ<br>พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขาดการขึ้นทะเบียนของผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อราย<br>ใหม่ คือ ไม่ได้ติดตามเยี่ยมผู้ป่ วยที่บ้าน (ORadj=77.68; 95%CI=24.37-247.56) โรคความดัน<br>โลหิตสูง (ORadj=48.24; 95%CI=4.11-565.35) ไม่ได้ทำงาน (ORadj=11.92; 95%CI=1.51-<br>94.05) การไม่ได้ส่งต่อผู้ป่ วย (ORadj=10.74; 95%CI=3.92-29.42) พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม<br>ที่มีแอลกอฮอล์ (ORadj=3.68; 95%CI=1.13-11.93) จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่ วยวัณ<br>โรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่ขาดการขึ้นทะเบียนวัณโรค ส่วนใหญ่ผู้ป่ วยไม่ได้รับการเยี่ยมบ้าน<br>จากเจ้าหน้าที่ ถือว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงมากต่อการรักษาผู้ป่ วยวัณโรคปอดเสมหะ<br>พบเชื้อรายใหม่ จึงควรพัฒนากระบวนการและแนวทางในการติดตามผู้ป่ วยมารับการรักษาให้เร็ว<br>ขึ้น รวมทั้งพัฒนาระบบการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น}, author={แสงภักด์ิ แมน and ศุกรเวทย์ศิริ พรนภา}, year={2018}, month={เม.ย.}, pages={1–10} }