การหาความสัมพันธ์ปริมาณความเข้มข้น PM2.5 ของเครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์กับเครื่องมือมาตรฐาน

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร แก้วคุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู อาจารย์สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์, PM2.5

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้หาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ (CKDPM) กับเครื่องมือมาตรฐาน โดยเครื่องมือทั้งคู่ใช้หลักการกระเจิงแสง (Light scattering) ซึ่งเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงคือ Dust Trak 8533 ในการเก็บตัวอย่างปริมาณความเข้มข้นของ PM2.5 ใน
3 สถานที่ ได้แก่ บริเวณคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริเวณสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และบริเวณโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เก็บตัวอย่าง 12 วัน โดยทำการบันทึกข้อมูลทุกๆ 30 นาที ตั้งแต่เวลา 8.00 น. ถึง 8.00 น. ของอีกวัน วันละ
24 ชั่วโมง พบว่า การอ่านค่า PM2.5 โดยเครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ (CKDPM) กับเครื่อง Dust Trak 8533 ในแต่ละสถานที่มีความสัมพันธ์กันอย่างสูงโดยมีค่า r เท่ากับ 0.9350, 0.9347, และ 0.8711 ตามลำดับ ซึ่งปริมาณความเข้มข้นที่ได้จากเครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ (CKDPM) มีค่าต่ำกว่าเครื่อง Dust Trak 8533 แต่อย่างไรก็ตามเครื่องมือทั้งสองที่ทำการติดตั้งคู่กันมีความสัมพันธ์กันอย่างสูงร้อยละ 93 ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการทำนายปริมาณความเข้มข้นที่ได้จากเครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ (CKDPM) โดยใช้สมการถดถอยอย่างง่าย (Simple Linear Regression) พบว่า ปริมาณความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ได้จากเครื่อง CKDPM ที่เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปริมาณความเข้มข้นของ PM2.5 ที่ได้จากเครื่อง Dust Trak 8533เพิ่มขึ้น 2.354646 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าความแม่นยำของปริมาณความเข้มข้นที่ได้จากเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ (CKDPM) มีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ใกล้เคียงกับเครื่อง Dust Trak 8533

Author Biographies

พัชรินทร แก้วคุณ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาตร์

พรพรรณ สกุลคู, อาจารย์สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2535). มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2563, จาก http://www.pcd.go.th/ info_serv/reg_std_airsnd01.html

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2563, จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php?grpIndex=1

ธวัช งามศรีตระกูล, & ศิริมา ปัญญาเมธีกุล. (2561). ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) กำลังกลับมาอีกแล้ว. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2563, จาก https://www.eng.chula.ac.th/th/24099

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2560). หลักการใช้เครื่องมือและการตรวจประเมินฝุ่นและสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2563, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/Menu/rayong/ dust_chem_ IH_19_22_12_60.pdf

อังก์ศิริ ทิพยารมณ์, & ณัฐพล วริกูล. (2559). การสอบเทียบผลการตรวจวัด PM2.5 จากเครื่องตรวจวัดแบบเรียลไทม์และ วิธีวิเคราะห์เชิงน้ำหนัก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(4), 1-11.

American Society of Heating, Refrigerating and Air Conditioning Engineers [ASHRAE]. (1997). Fundamentals handbook. New York: ASHRAE..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-15