ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สายฝน สีนอเพีย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าและความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลนำไปสู่การฆ่าตัวตาย  อย่างไรก็ดีกรมสุขภาพจิตได้รายงานโครงการให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตออนไลน์ ในปี 2562 พบว่าวัยรุ่นอายุ 11-19 ปี มากที่สุดมีความเครียดมากที่สุดร้อยละ 51.36  วัตถุ ประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้า ในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการ ศึกษา 2562 จำนวน 219 คน และเป็นนักศึกษาจาก กลุ่มวิชาต่างๆ ได้แก่ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สังคมศาสตร์ การรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ระหว่าง เดือน มิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ.2563 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติเช่น จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฯลฯ การวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงกับความเครียด และภาวะซึมเศร้าใช้สถิติ Multiple logistic regression analysis  การนำเสนอผการวิเคราะห์ด้วย Adjust odds ratio (OR adj) ช่วงความเชื่อมั่น 95% และค่า p-value

ผลการศึกษาพบว่า  นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น มากที่สุดมีความเครียดในระดับรุนแรง ร้อยละ 44.29 ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (OR adj=3.50, 95% CI=1.38-8.89, p-value=0.008) แหล่งที่มาของรายได้ (OR adj=6.25, 95%CI=1.56-24.75, p-value=0.01) กลุ่มสาขาวิชา (OR adj=2.45, 95%CI=1.02-5.94, p-value=0.046) การนอนหลับพักผ่อน (OR adj=5.28, 95%CI=1.18-23.62, p-value= 0.029) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (OR adj=4.11, 95%CI=1.58-10.73, p-value=0.004) ส่วนภาวะซึมเศร้า พบว่านักศึกษามีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงร้อยละ 20.09 ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุ (OR adj=2.59, 95%CI=1.29-5.25, p-value=0.008) กลุ่มสาขาวิชา (OR adj=3.09, 95%CI=1.44-6.62, p-value=0.004) การนอนหลับพักผ่อน (OR adj=5.38, 95%CI= 2.58-11.27, p-value<0.001) การออกกำลังกาย (OR adj=2.29, 95% CI=1.08-4.87, p-value= 0.031) การสูบบุหรี่ (OR adj=3.05, 95%CI=1.01-9.25, p-value=0.049) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (OR adj=4.96, 95%CI=2.52-9.79, p-value<0.001)

ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีภาวะความเครียดระดับรุนแรงมากที่สุด และภาวะซึมเศร้าระดับเริ่มต้นมากที่สุด มหาวิทยาลัยควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตหรือการจัดการความเครียดให้แก่นักศึกษา รวมทั้งจัดตั้งคลินิกปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตบริการให้แก่นักศึกษา

References

กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ, ณสมพล หาญดี, & สุดสบาย จุลกทัพพะ. (2557). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ถึง 6 ของคณะแพทย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(1), 29-40.

กรมสุขภาพจิต. (2562ก). รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย ของประเทศไทย แยกตามช่วงอายุ. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

กรมสุขภาพจิต. (2562ข). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิตปี 2558-2562. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/ebook/

ฐาปกรณ์ เรือนใจ, ณัฐวรินทร์ กฤติยาภิชาตกุล, พิลาสินี วงษ์นุช, & วิวัฒน์ แก้วดวงเล็ก. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. ลำปางวารสาร, 37(1), 9-15.

ณัฏฐพิชชา คุณสันติพงษ์, เสาวลักษณ์ จันทเสน, อภิญญา จวงไธสง, นันท์นภัส ชัชวาลย์, จันทรพร มีทองแสน, & แสงฉาย มุ่ยปอง.(2563). การศึกษาปัจจัยที่ทาให้เกิดความเครียดในนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออก.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 52-63.

นภัสกร ขันธควร. (2559). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัย, 60(4), 255-265.

นิคม ถนอมเสียง (2543). ขนาดตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ logistic regression กรณีใช้สูตรของ Hsieh, Bloch & Larson: เอกสารประกอบการสอนวิชา 516707 Categorical Data Analysis for Health Research. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อม กับความเครียด และการจัดการความเครียดขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 270-279.

รัตนาภรณ์ ชูทอง, ภควัต วิวัฒนวรเศรษฐ์, ณภัควรรต บัวทอง, ยุพา หนูทอง, ชาตินันท์ อยู่สุข, ณัฐกุล รุ่งเรือง, และคณะ. (2562).

ภาวะสุขภาพจิต สภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของ ครอบครัวในนักศึกษาระดับปริญญาตรีของ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(4), 337-350.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล, & โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2560). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย:การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. วารสารสุขภาพจิต, 28(2), 136-149.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). สาเหตุความเครียด. ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/42844.

สุกัญญา รักษ์ขจีกุล. (2556). ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(4), 359-370.

สุจิตรา อู่รัตนมณี และ สุภาวดี เลิศสําาราญ.(2560). ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย.วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2), 78 -93.

สุดคนึง ปลั่งพงษ์พันธ์. (2561). ระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในประเทศไทยและเขตโมโจเกอโต จุมบัง หมู่เกาะชวาตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(1), 43-51.

สุธิดา พลพิพัฒน์พงศ์, นุจรี ไชยมงคล, & ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2561). ความคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(1), 40-49.

อุษากร แซ่เหล้า. (2550). ความเครียดและการปรับตัวของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Hea_Ed(M.S.)/Usakorn_S.pdf

American Psychology Association [APA]. (2019). Stress effects on the body. Retrieved October 1, 2019 from https://www.apa.org/helpcenter/stress-body

Cox, R. C., Tuck, B., & Olatunji, B. O. (2018). The role of eveningness in obsessive-compulsive symptoms: Cross-sectional and prospective approaches. Journal of Affective Disorders, 235, 448-455.

Dinis, J., & Bragança, M. (2018). Quality of sleep and depression in college students: A systematic review. Sleep Science, 11(4), 290-301.

Ghrouz, A. K., Noohu, M. M., Dilshad Manzar, M., Warren Spence, D., BaHammam, A. S., & Pandi-Perumal, S. R. (2019). Physical activity and sleep quality in relation to mental health among college students. Sleep & Breathing, 23(2), 627-634.

Glasheen, C., Forman-Hoffman, V., Hedden, S., Ridenour, T., Wang, J., & Porter, J. (2019). Residential transience among US adolescents: association with depression and mental health treatment. Epidemiology and Psychiatric Sciences, 28(6), 682–691.

Islam, M. A., Low, W. Y., Tong, W. T., Yuen, C. C. W., & Abdullah, A. (2018). Factors Associated with Depression among University Students in Malaysia: A Cross-sectional Study. KnE Life Sciences, 4(4), 415-427.

Liang, L. A., Berger, U., & Brand, C. (2019). Psychosocial factors associated with symptoms of depression, anxiety and stress among single mothers with young children: A population-based study. Journal of Affective Disorders, 242, 255–264.

Morrell, H. E., Cohen, L. M., & McChargue, D. E. (2010). Depression vulnerability predicts cigarette smoking among college students: Gender and negative reinforcement expectancies as contributing factors. Addictive Behaviors, 35(6), 607-611.

National Institute of Health Research [NIHR]. (2020). New study exploring impact of exercise in treating depression in teenagers launched. Retrieved July 6, 2020, from https://www.nihr.ac.uk/news

World Health Organization [WHO]. (2018). Depression. Retrieved July 6, 2019 from https://www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/depression

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-20