การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ในการทำงานของเกษตรกรปลูกยางพารา

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง Khon Kaen UniversityKhon Kaen , Thailand

คำสำคัญ:

การยศาสตร์การทำงาน, การกรีดยาง, เมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ, โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 316 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การประเมินความเมื่อยล้าบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และใช้เมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยในการประเมินความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในขั้นตอนการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรทุกคนทำหน้าที่กรีดยางพารา ส่วนใหญ่เก็บน้ำยางสดหรือเก็บยางก้อนถ้วย ร้อยละ 95.56 มีประสบการณ์กรีดยางพารามากกว่า 3 ปี ร้อยละ 94.30 และทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 61.08 รับรู้ความรู้สึกไม่สบายทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่อาการรุนแรงระดับมากถึงมากเกินทนไหว 3 ตำแหน่งแรก คือ หลังส่วนล่าง ร้อยละ 22.52 มือและข้อมือ ร้อยละ 13.92 และเข่า ร้อยละ 16.14 ตามลำดับ ความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ พบว่า มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับเสี่ยงสูง (ร้อยละ 34.49) และเสี่ยงสูงมาก (ร้อยละ 65.51) และเมื่อพิจารณาตามขั้นตอนการทำงาน ความเสี่ยงสูงถึงสูงมากในขั้นตอนการกรีดยางและการเก็บยางก้อนถ้วย พบที่ตำแหน่งหลังส่วนล่าง รองลงมาคือ เข่า และมือและข้อมือ ตามลำดับ และพบความเสี่ยงสูงถึงสูงมากต่อการปวดคอ ไหล่ ในขั้นตอนการทำยางแผ่น จึงเสนอแนะให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในขั้นตอนการกรีดยาง การให้ความรู้ทางการยศาสตร์เพื่อการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงและมีอุปกรณ์ช่วยนั่งพักชั่วคราวขณะทำงาน และการประยุกต์ใช้เมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยนี้เพื่อการประเมินติดตาม การเฝ้าระวัง ป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อในเกษตรกรได้ต่อไป

Author Biography

สุนิสา ชายเกลี้ยง, Khon Kaen UniversityKhon Kaen , Thailand

รศ.ดร.สุนิสา ชายเกลี้ยง

ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

References

กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และสมรรถภาพของกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 21-31.

การยางแห่งประเทศไทย สาขาเดชอุดม. (2560). ข้อมูลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกยางพารา ปี 2560. อุบลราชธานี: การยางแห่งประเทศไทย สาขาเดชอุดม.

ณัฐพงษ์ นาทัน, & กาญจนา นาถะพินธุ. (2556). อาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของคนงานในโรงงานยางพารา: กรณีศึกษาในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(3), 178-183.

ธวัชชัย คำป้อง, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2556). ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการปวดหลังจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 70-78.

พรทิพย์ ใจจง, ฉันทนา จันทวงศ์, & ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2557). ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของรยางค์ส่วนบนในผู้ประกอบอาชีพกรีดยางพารา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(1), 1-11.

รัชนี จูมจี, อรอนงค์ บุรีเลิศ, นพรัตน์ ส่งเสริม, & เฉลิมสิริ เทพพิทักษ์. (2560). การศึกษาผลการจัดการด้านการยศาสตร์ในการลดความเสี่ยงต่ออาการปวดเมื่อยกระดูกและกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7 (1), 92-103.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, & ธานี แก้วธรรมานุกูล. (2556). ท่าทางการทำงาน และกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา. พยาบาลสาร, 40(1), 1-10.

วีรชัย มัฎฐารักษ์. (2554). การประเมินภาวะทางการยศาสตร์ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่นวดยางแผ่นด้วยแรงงานคนและเครื่องนวดยางแผ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 4(1), 16-29.

สมปอง พรหมพลร, & ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2559). ภาวะสุขภาพของผู้กรีดยางพาราในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 225-239.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). ข้อมูลการปลูกยางพารา. ค้นเมื่อ 7 กันยายน 2562, จาก http://www.ubonratchathani.doae.go.th

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สถิติการเกษตรของประเทศไทย. (2560). สถิติการเกษตรของประเทศไทย (2560). ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562, จาก http://www.oae.go.th

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560). สถานการณ์โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562, จาก http://www.agriinfo.doea.go.th

สุนิสา ชายเกลี้ยง กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 32(1): 82-94.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, & อารยา ปานนาค. (2560) การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 47(2), 212-21.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & วิภารัตน์ โพธิ์ขี. (2558). ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, สัญญา พึงสร้างแป้น, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, & กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. (2562). ความชุกและความรุนแรงของโรคจากการทำงานในเกษตรกรปลูกพืชไร่จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 77-86.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Chaiklieng, S. (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS ONE, 14 (12), e0224980.

Hignett, S., & McAtemney, L. (2000). Rapid Entire Body Assessment (REBA). Applied Ergonomics, 31(2), 201-05.

Hsieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. (1998). A sample method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(4),1623-34.

Thetkathuek, A., Meepradit, P., & Sangiamsak, T. (2018). A cross-sectional study of musculoskeletal symptoms and risk factors in Cambodian fruit farm workers in Eastern region, Thailand. Safety and Health at Work, 9(2), 912-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-23