ปัจจัยการบริโภคอาหารกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก ในประชาชน อายุ 50-70 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • จริญญา เชื้อลิ้นฟ้า คณะสาธารณสุขศาสตร์
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง การตรวจคัดกรอง การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ

บทคัดย่อ

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การบริโภคอาหารมีผลต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง แต่การศึกษาการบริโภคอาหารกับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal Immunochemical Test: FIT) ให้ผลบวกในปัจจุบันนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารและปัจจัยอื่นๆ กับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก ในประชาชน 50-70 ปี ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ case-control study ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน มีนาคม 2563 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 216 คน กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 108 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงเชื่อมั่นที่ 95%

     ผลการศึกษาพบว่า การบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ORadj=1.39, 95%CI; 0.65-3.00, p=0.398) แต่พบว่า ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า (ORadj=2.38 , 95%CI; 1.15-4.90, p=0.019)  ผู้ที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคกลุ่ม Metabolic syndrome (ORadj=2.62 , 95%CI; 1.35-5.10 , p=0.005) และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj=2.08 , 95%CI: 1.15-3.75, p=0.015) มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FIT) ให้ผลบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value< 0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย

            ดังนั้น เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งในชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และการใช้ยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรค Metabolic syndrome เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในอนาคต

References

กรมการแพทย์. (2561). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณยศ ชัยอาจ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (iFOBT) ในประชากรอายุ 45-74 ปี อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชวาล วงศ์จิตรัตน์, & นัฏกานต์ วงศ์จิตรัตน์. (2556). ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. นครนายก: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

พิราภรณ์ อยู่เหลี่ยง, ชุลีพร ทองจักร, ปาจรีย์ ศรีอุทธา, & กนกพร นิวัฒนนันท์. (2562). การประเมินการใช้ยาที่ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารในผู้สูงอายุที่ได้รับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(3), 566-574.

วราภรณ์ ฟักโพธิ์. (2561). การทดสอบเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ Helicobacter pylori จากเลือด. วารสารงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์, 5(3), 1-7.

สมยศ สุขเสถียร. (2562). สาเหตุ และปัจจัยทํานายการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 41(1), 21-28.

สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย. (2557). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารไทย.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์.

Adler, N. E., Boyce, T., Chesney, M. A., Cohen, S., Folkman, S., Kahn, R. L., et al. (1994). Socioeconomic status and health: The challenge of the gradient. American psychologist, 49(1), 15-24.

Barger, L. K., Cade, B. E., Ayas, N. T., Cronin, J. W., Rosner, B., Speizer, F. E., et al. (2005). Extended work shifts and the risk of motor vehicle crashes among interns. New England Journal of Medicine, 352(2), 125-134.

Chiang, T. H., Lee, Y. C., Liao, W. C., Chung, J. H., Chiu, H. M., Tu, C. H., et al. (2015). Timing and risk factors for a positive fecal immunochemical test in subsequent screening for colorectal neoplasms. PLoS One, 10(9), e0136890.

Cutler, D. M., & Lleras-Muney, A. (2010). Understanding differences in health behaviors by education. Journal of health economics, 29(1), 1-28.

Global Cancer Observatory. (2018). Cancer. Retrieved June 10, 2019, from http://www.who.int/new-room/

fact sheets/detail/caner?fbclid=IwAROkLXRQWMzASJ371ovEqnO193iypxMEVLrOJc8uj6JklASTWKwk6yBRBEgLr

OJc8uj6JklASTWKwk6yBRBEg

Global Cancer Observatory. (2018). Cancer tomorrow. Retrieved June 10, 2019, from http://gco.iarc.fr/tomorrow/ graphic-isotype?type=0&population=900&mode=population&sex=0&cancer=39&age_group=value&

apc_male=0&apc_female=0

Guimont, C., Brisson, C., Dagenais, G. R., Milot, A., Vézina, M., Mâsse, B., et al. (2006). Effects of job strain on blood pressure: a prospective study of male and female white-collar workers. American journal of public health, 96(8), 1436-1443.

Hsieh, F. Y. (1989). Sample size tables for logistic regression. Statistics in Medicine, 8(7), 795-802.

Ijspeert, J. E., Bossuyt, B. M., Kuipers, E. J., Stegeman, I., Wijkerslooth, T. R., Stoop, M., et al. (2015). Smoking status informs about the risk of advanced serrated polyps in a screening population. Endoscopy International Open, 4(1), 73-78.

Imsamran, W., Pattatang, A., Supattagorn, P., Chiawiriyabunya, I., Chitapanrux, I. (2018). Cancer in Thailand. Bangkok: Ministry of Public Health.

Pramual, P. (2018). Association between consumption of red meat and a positive fecal immunochemical test of colorectal cancer screening in a Thai population. Doctor of Public Health Thesis, Graduate School, Khon Khaen University.

Randel, K. R., Botteri, E., Romstad, K. M. K., Frigstad, S. O., Bretthauer, M. O., Hoff, G. O., et al. (2019). Effects of oral anticoagulantss and aspirin on performance of fecal immunochemical tests in colorectal cancer screening. Gastroenterology, 156, 1642–1649.

Schlessman, J. J. (1982). Case-control studies: Design, conduct, analysis. Oxford: Oxford University.

Ting, P. H., Lin. X. H., Jiang. J. K., Luo. J. C., Chen. P. H., Wang. Y. P. et al. (2018). The factors associated with negative colonoscopy in screening subjects with positive immunochemical stool occult blood test outcomes. Journal of the Chinese Medical Association, 81, 759-765.

Wada, K., Oba, S., Tsuji, M., Tamura, T., Konishi, K., Goto, Y., et al, (2017). Meat consumption and colorectal cancer risk in Japan: The Takayama study. Cancer Science, 108(5), 1065–1070.

Wong, M. C. S., Ching, J. Y. L., Cha, V. C. W., Lam, T. Y. T., Luk, A. K. C., Ng, S. S. M., et al. (2015). Factors associated with fale-positive and fale-negative fecal immunochemical test results for colorectal cancer screening. Gastrointestinal Endoscopy, 88(3), 596–607.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ